เนื้อหา |
---|
วิวัฒนาการขาย
ชาติไทยมีการค้าขายมาตั้งแต่โบราณ โดยอาศัยทรัพยากรที่สมบูรณ์เป็นสินค้า
สมัยสุโขทัย
เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า
แสดงถึงความมีเสรีภาพในการขายในสมัยของพ่อขุนรามคำแหง มีตลาดที่เรียกว่า ตลาดปสาน หรือ บาร์ซาร์ ( Bazaar ) หรือตลาดนัด เป็นย่านชุมชนที่เป็นห้องแถว หรือร้านเป็นแถว ๆ ให้ประชาชนมาติดต่อซื้อขายกัน ในสมัยนี้ ไทยสามารถผลิตชามสังคโลกเป็นสินค้าได้แล้ว มีกาค้ากับชาวต่างประเทศ คือ มอญ จีน ลังกา ญี่ปุ่น
สมัยอยุธยา
เจริญสูงสุดในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระคลังสินค้า คือพระยาวิชาเยนทร์(นายฟอลคอน ชาวอังกฤษ) ทำหน้าที่เหมือนรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง
มีการค้ากับโปรตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ
สมัยธนบุรี
มีเรือสำเภาจีนเข้ามาค้าขาย และค้าขายกับ อินเดีย อังกฤษ มลายู
สมัยรัตนโกสินทร์
เริ่มมีการค้ากับสหรัฐอเมริกาในสมัย รัชกาลที่ 2 ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ไทยค้าขายกับจีนมากที่สุด และติดต่อกับหมอบรัดเล ซึ่งได้นำเครื่องพิมพ์ดีดมาใช้ในไทย ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 ยกเลิกระบบการค้าแบบผูกขาดหันมาค้าขายแบบเสรี ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวต่างประเทศได้มาเปิดห้างขายสินค้าในไทย และมีการจัดตั้งกระทรวงพาณิชย์ขึ้นในรัชกาลที่ 6

การขายแบบหาบเร่แผงลอย
ปัจจุบัน
ระบบการค้าของไทยเป็นแบบผสม คือ ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม หรือ ทุนนิยม( ประชาชนมีเสรีในการทำธุรกิจ ) ผสมกับสังคมนิยม (รัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการทำธุรกิจธนาคาร การขนส่ง และสาธารณูปโภค

มีการส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศโดยภาครัฐ
การขายในยุคก่อน ๆ ผู้ขายไม่ต้องใช้ความพยายามมากในการขาย เนื่องจากการผลิตสินค้าทำได้ยาก ปริมาณสินค้ามีน้อยกว่าความต้องการของผู้ซื้อ ผลิตเท่าไรก็ขายหมด แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้ามีผู้ผลิตจำนวนมาก สินค้ามีมากกว่าความต้องการของผู้ซื้อ ผู้ซื้อมีโอกาสได้เลือก มีอำนาจในการต่อรอง ผู้ขายจึงต้องพยายามชักจูงให้เกิดความต้องการแล้ว ยังจะต้องทำให้ผู้ซื้อเกิดความพอใจในสินค้ามากที่สุด
ประโยชน์ของการขาย
ทางด้านเศรษฐกิจ
1. การขายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างงานอาชีพใหม่ ๆ เช่น พนักงานส่งของ พนักงานบัญชี พนักงานคุมสต็อกสินค้า เป็นต้น
2. การขายทำให้ ท้องถิ่นมีงานทำ มีการกระจายรายได้
3. การขายทำให้ กิจการก้าวหน้า มีการขยายกำลังการผลิต มีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น
ทางด้านสังคม
1. การขายทำให้ประชาชนมีสินค้าตามต้องการ เกิดความสะดวกสบาย และประหยัดค่าใช้จ่ายในการแสวงหา
2. เมื่อประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้ทำให้มีการยกมาตรฐานการครองชีพ เกิดความสงบในสังคม
3. การขายนำความเจริญไปสู่ท้องถิ่น ได้พบความแปลกใหม่ และการเรียนรู้

สินค้าไทยไปขายต่างประเทศทำให้เป็นที่รู้จัก และนำเงินตราเข้าประเทศ
กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 คน นำใบงานไปสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในท้องถิ่น
แบบฝึกหัด
1. การขายเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ หมายความว่าอย่างไร
2. ลักษณะพื้นฐานการขายที่ดี 7 ประการมีอะไรบ้าง
3. วิชาการขายมีความสำคัญกับอาชีพงานอื่น ๆ อย่างไร
4. พ่อค้าเร่ หมายถึง อะไร
5. วัตถุประสงค์ของการขายคืออะไร