เนื้อหา |
---|
ประเภทของร้านจำหน่ายสินค้าที่ควรรู้จัก
1. ห้างสรรพสินค้า ( Department Store ) , ศูนย์การค้า ( Sopping Center )
สามารถซื้อสินค้าทุกชนิดได้ที่นี่ มีโรงภาพยนตร์ ศูนย์อาหาร ซุปเปอร์มาเก็ต ที่จอดรถ ร้านค้าย่อยอื่น ๆ สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน พื้นที่กว้างขวาง เช่น เซ็นทรัลลาดพร้าว ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต แฟชั่นไอร์แลนด์
2. ซุปเปอร์มาร์เก็ต ( Super market ) , ร้านสรรพาหาร
เป็นร้านแบบบริการตนเอง มีเครื่องอุปโภคบริโภค อาหารสด เช่น ฟูดไลออนส์ ฟูดแลนด์ ท็อปส์ เฟรชมาร์ช
3. ร้านสะดวกซื้อ ( Convenion Store ) , ร้านขายของชำ , ร้านโชห่วย
ขายสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ประจำวัน ตั้งอยู่ในแล่งชุมชน แถวป้ายรถเมล์ , ในโรงพยาบาล , โรงเรียน , ปั๊มน้ำมัน มีบริการความสะดวกอื่น ๆ เช่น รับชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ บริการ 24 ชั่วโมง เช่น เซเว่น – อีเลฟเว่น , แฟมิลี่มาร์ช , จิฟฟี่ เป็นต้น
4. ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง ( Special Store )
ขายสินค้าเฉพาะเจาะจง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า , เสื้อผ้า ฯลฯ
5. ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ ( Super Center )
มีลักษณะของซุปเปอร์มาร์เก็ต ผสมกับห้างสรรพสินค้า เน้นลูกค้าระดับกลาง เน้นจำหน่ายเครื่องนุ่งห่ม ขายอาหารเป็นรายการเสริม เช่น ห้างโลตัส บิ๊กซี
6. ร้านค้าปลีกครบวงจร ( Hyper Market )
ขายอาหารเป็นหลัก ขายเครื่องนุ่งห่มเป็นรายการเสริม จำหน่ายสินค้าราคาประหยัด เช่น คาร์ฟูร์
7. ร้านขายส่งขนาดใหญ่ ( Cash and Carry Store )
คล้ายคลังสินค้า ตั้งอยู่แถวชานเมือง บริการตนเอง บริเวณกว้าง ชำระเงินสด และต้องเป็นสมาชิก เช่น แมคโคร
8. ร้านขายสินค้าราคาเดียว ( One Price Store )
จำหน่ายสินค้าราคาเดียวทั้งร้าน เช่น ร้าน Just 25 , ร้าน Red dot อยู่ในห้างแฟชั่นไอแลนด์ , เซ็นทรัลหัวหมาก
9. ร้านค้าแบบแฟรนไชส์ ( Franchise )
ระบบธุรกิจที่ประกอบด้วยเจ้าของลิขสิทธิ์ถ่ายทอดวิทยาการการทำธุรกิจทุกอย่างให้แก่ผู้รับสิทธิ์อย่างใกล้ชิด และผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้ชื่อการค้าเป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้ารวมทั้งค่าตอบแทนในระบบ เช่น ค่าตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย ยอดซื้อ ค่าโฆษณา ค่าอบรม ฯลฯ
ประเภทของพนักงานขาย
พนักงานขายปฏิบัติงานขายในฐานะพนักงานขายของผู้ผลิต ของพ่อค้าส่ง ของพ่อค้าปลีก หรือของตัวแทน ซึ่งจะมีชื่อเรียกต่างกัน
1. ผู้แทนขาย หรือ ตัวแทนขาย ( Sales Representatives ) หรือ พนักงานขายตัวแทน
พนักงานขายที่นำแคตตาลอกไปเสนอขาย อธิบายรายละเอียด แล้วรับใบสั่งซื้อกลับมายังบริษัท มีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ซื้อมาจากบริษัทแม่ แล้วจัดจำหน่ายเอง เช่น ขายรถยนต์
2. พนักงานขายเงินสด ( Cash Sales )
พนักงานขายที่ขายสินค้าต่าง ๆ เป็นเงินสด
3. พนักงานขายสินเชื่อ ( Credit Sales )
พนักงานขายที่สามารถพิจาณาให้สินเชื่อแก่ลูกค้าได้
4. พนักงานขายหน่วยรถ ( Mobile Sales )
พนักงานขายที่นำสินค้าไปส่งตามใบสั่งซื้อ และนำสินค้าไปขายให้ลูกค้ารายใหม่ด้วยมักพูดภาษาท้องถิ่นได้
5. พนักงานขายหน้าร้าน ( Counter Salesman )
พนักงานขายที่ยืนขายประจำตู้สินค้า คอยให้ลุกค้าเดินมาซื้อ แล้วให้รายละเอียดสินค้า ชักจูงใจลูกค้า มักมีเครื่องแบบประจำ
6. วิศวกรขาย ( Sales Engineer )
พนักงานขายที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เครื่องจักร ต้องเป็น พนักงานขายที่มีความรู้ด้านนี้เป็นอย่างดี
7. พนักงานขายยา ( Detail Salesman )
พนักงานขายที่ต้องรู้คุณสมบัติของยา มีวุฒิที่เกี่ยวข้อง
8. พนักงานขายสมาชิก ( Membership sales )
พนักงานขายจะชักจูงใจให้ลูกค้าสมัครเป็นสมาชิก พร้อมยื่นเงือนไขที่ดีให้ลูกค้า เช่น พนักงานขายเครดิตการ์ด American Express , บัตรเครดิตของธนาคารต่าง ๆ เป็นต้น

พนักงานขายหน้าร้าน