เนื้อหา |
---|
ขั้นตอนการพัฒนาของกลุ่ม
การพัฒนาของกลุ่มตามแนวคิดเรื่อง Cog’s Ladder ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนากลุ่มที่จำแนกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ทำความรู้จักกันด้วยความสุภาพ (Polite) เปิดเผยตนเองเพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเองและแต่ละคน แล้ว รวมกลุ่มตามความพอใจ ความสนใจ
ขั้นที่ 2 หาความหมายให้กับกลุ่มว่าทำไมต้องมาอยู่ร่วมกัน (Why we’re here) หลังจากรู้จักกัน สมาชิกกลุ่มต้องการรู้ว่า เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มคืออะไร หาความหมายร่วมกัน และยอมรับเป้าหมายที่จะทำให้กลุ่มประสบความสำเร็จ ถ้าวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายนั้นมาจากนอกกลุ่ม ในขั้นนี้สมาชิกจะถกเถียงกัน เพื่อให้เข้าใจและสร้างข้อตกลงร่วมกัน
ขั้นที่ 3 เสนอความคิดและหาแนวร่วม (Bid for power)
ขั้นตอนแยกจากขั้นที่ 1 โดยสังเกตจากการแข่งขันของสมาชิกกลุ่ม โดยแต่ละคนจะหาเหตุผลให้กับงานในตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พยายามเสนอความคิดเห็นให้กลุ่มทำตามสิ่งที่เขาเห็นว่าเหมาะสม ดังนั้นความขัดแย้งในกลุ่มจะสูงกว่าระยะอื่นๆ ความพยายามที่จะใช้บทบาทความเป็นผู้นำเกิดขึ้นในลักษณะการเข้าไปมีส่วนร่วม เพื่อแก้ปัญหา และการหาแนวร่วมจากนอกกลุ่ม ขั้นตอนนี้ พยายามรักษา บทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างของกลุ่มจะพบว่ากลุ่มมีสมาชิกที่ประนีประนอม (Compromise) ให้กลุ่มเข้ากันได้ (Harmonize) และผู้อนุรักษ์กฎของกลุ่มพยายามคงสภาพสมดุลที่ยอมรับได้ในกลุ่ม สมาชิกบางคนจะไม่ผ่านขั้นตอนนี้ คือไม่สามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างของกลุ่มอย่างเหนียวแน่น แต่เขาสามารถทำงานหรือร่วมกลุ่มต่อไปได้
ขั้นที่ 4 ร่วมเป็นโครงสร้างของทีม (Constructive)
ทัศนคติของสมาชิกกลุ่มเปลี่ยนไปจากการพยายามควบคุมให้กลุ่มเป็นไปตามที่เขาคิดกลายเป็นยอมรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มมากขึ้น มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในกลุ่ม (Team Spirit) การพัฒนาเป้าหมายของกลุ่มจะเป็นรูปร่างขึ้น มีชื่อและเอกลักษณ์ต่างๆ ของกลุ่มชัดเจน สำหรับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มไม่แตกต่างกันมาก คือทำก็ทำด้วยกัน ไม่ทำก็ไม่ทำด้วยกันทั้งกลุ่ม การตัดสินใจจะช่วยกันแก้ปัญหาของกลุ่ม ผลิตภาพของกลุ่ม (Productivity) ที่มาจากความคิดสร้างสรรค์จะสูงในขั้นนี้
ขั้นที่ 5 มีความรักในหมู่คณะ (Esprit)
ขั้นนี้กลุ่มจะมีขวัญ มีความจงรักภักดี และมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งจองกลุ่ม ความคิดเห็นเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีความรู้สึกว่าต้องการแยกกลุ่ม สมาชิกแต่ละคนเข้าใจชัดเจนในบทบาทตามตำแหน่งหน้าที่ของตนว่าแยกจากคนอื่นอย่างไรและยอมรับคนอื่นๆ เหมือนกับที่ยอมรับตนเองมีความคิดสร้างสรรค์และความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก การยอมรับในเรื่องใดๆ มาจากความพอใจของสมาชิกทุกคน

- กลุ่มชั่วคราว เป็นกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เกิดขึ้นด้วยเป้าหมายเฉพาะเรื่อง เฉพาะช่วยเวลา เฉพาะบางโอกาสเมื่อบรรลุเป็นหมายการรวมกลุ่มจะจบลง เช่น การมุงดูอุบัติเหตุ การรวมกันช่วยผู้ป่วย การวิ่งมาดูเสียงดังที่ผิดปกติ กลุ่มชั่วคราวจะมีขั้นตอนการรวมกลุ่มแบบไม่ลึกซึ้ง เป็นเพียงเฉพาะหน้าไม่เกิดการรู้จักกัน ไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน เช่นการชุมนุมประท้วง
- กลุ่มถาวร มีลักษณะตรงกันข้ามกับกลุ่มชั่วคราวและจะมีขั้นตอนการพัฒนา 5 ขั้นตอนดังกล่าว โดยจะมีความยั่งยืนต่อเนื่อง สัมพันธ์กันตลอดเวลา เป็นหมายจะเป็นเรื่องของการดำเนินชีวิตที่ต้องคงอยู่ต้องเป็นไป หยุดหรือขาดจากกันไม่ได้ เช่น กลุ่มครองครัว กลุ่มราชการ กลุ่มองค์กรธุรกิจ

ประเภทของการรวมกลุ่มในชุมชน
1.การรวมคนตามอาชีพ เช่น กลุ่มทำนา กลุ่มทำสวน กลุ่มชาวไร่อ้อย กลุ่มสวนยาง กลุ่มทำร่ม กลุ่มเพาะพันธ์กล้วยไม้ กลุ่มจักสาน กลุ่มทอผ้าฯ
2.การรวมกลุ่มตามวัย/เพศ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชนฯ
3.การรวมกลุ่มเพื่อการพัฒนา เช่น กลุ่มประชาธิปไตย กลุ่มสุขภาพ กลุ่มสวัสดิการ กลุ่มประกันภัย กลุ่มอนุรักษ์ กลุ่มปกป้องป่าฯ