เนื้อหา |
---|
1. กลุ่มบุคคลที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเดียวกัน
2. เจตนารมณ์ที่จะช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
3. จัดตั้งองค์กรธุรกิจขึ้นและร่วมกัน ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
4. วัตถุประสงค์ขององค์กรธุรกิจนี้คือ ส่งเสริมผลประโยชน์ของสมาชิกและครอบครัว
เอกลักษณ์สหกรณ์ เป็นองค์ประกอบที่ขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ต้องพร้อมกันทั้ง 4 ข้อ จึงจะเป็นเครื่องชี้ว่าเป็นสหกรณ์ ทั้งนี้เนื่องจากสหกรณ์มีความแตกต่างจากมูลนิธิที่มุ่งช่วยเหลือ แตกต่างจากธุรกิจเอกชนที่มุ่งแสวงหากำไร
หน้าที่ของรัฐบาลต่อสหกรณ์
สหกรณ์เป็นองค์การปกครองตนเองโดยไม่ถูกควบคุมและชี้นำโดยรัฐบาล และบทบาทของรัฐบาลที่เกี่ยวกับสหกรณ์ คือการออกกฎหมาย นโยบาย การจดทะเบียน การอำนวยความสะดวก การให้คำแนะนำและการชำระบัญชี
ความเสมอภาคเท่าเทียมของสมาชิก
สหกรณ์เป็นองค์การที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนองค์การรูปแบบใด เพราะการดำเนินการสหกรณ์จะมีกำไรหรือขาดทุนสมาชิกคือ ผู้รับที่ได้รับการแบ่งปันผลการดำเนินการอย่างเท่าเทียมกัน เพราะว่า สมาชิกเป็นเจ้าของสหกรณ์และเป็นผู้ใช้บริการสหกรณ์ การมารับบริการจากสหกรณ์ของสมาชิกเป็นชัยชนะของสมาชิก นี่คือความแตกต่าง ถ้าสมาชิกผู้ถือหุ้นไม่มาใช้บริการขององค์สหกรณ์ ก็ไม่ใช่สหกรณ์ เพราะการรวมกันเป็นสหกรณ์ คือความต้องการใช้บริการของสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของตน นั่นหมายถึง สมาชิกแต่ละคนเพื่อทุกคนและทุกคนเพื่อแต่ละคน (Each for all and All for each)
ปรัชญาสหกรณ์
การช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ความรับผิดชอบร่วมกัน
ยึดหลักประชาธิปไตย
ความเสมอภาค
ความเป็นธรรม
การรวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการพึ่งพาอาศัยกัน
จริยธรรมสหกรณ์
ความซื่อสัตย์
โปร่งใส
ความรับผิดชอบต่อสังคม
การเอาใจใส่ผู้ด้อยกว่า
วัตถุประสงค์ของสหกรณ์
สหกรณ์มีเป้าหมายหลักคือการทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกดีขึ้นและวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ คือการทำให้เป้าหมายของสหกรณ์บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมด้วยวิธีการสหกรณ์

ความแตกต่างระหว่างสหกรณ์จำกัดกับบริษัทจำกัด
สหกรณ์จำกัด |
บริษัทจำกัด |
ผู้ก่อตั้ง |
|
ไม่น้อยกว่า 10 คน จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 |
ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป จดทะเบียนตามกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 22 หมวด 4 มาตรา 1096-1227 |
วัตถุประสงค์ |
|
-ให้บริการสูงสุดแก่สมาชิก (Maximized Service) |
-เอากำไรสูงสุดให้ผู้ถือหุ้น (Maximized Profit) |
ทุน |
|
-คนสำคัญกว่าทุน -รวมทุนเพื่อให้บริการ |
-ทุนเป็นใหญ่ -ลงทุนเพื่อหากำไร |
หุ้น |
|
-ผู้ถือหุ้นมีกำลังทรัพย์น้อย -ไม่ระบุมูลค่าหุ้นขั้นต่ำ -สมาชิกถือหุ้นได้ไม่เกิน 1 ใน 5 ของหุ้นที่ชำระแล้ว -จำนวนหุ้นไม่แน่นอน -ราคาหุ้นคงที่ -ไม่มีหุ้นบุริมสิทธิ -ไม่บังคับต้องมีใบหุ้น -เข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ |
-ผู้ถือหุ้นมีกำลังทรัพย์มากเป็นนายทุน -มูลค่าหุ้นๆ หนึ่งต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท -ไม่จำกัดจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถือ -จำนวนหุ้นแน่นอนราคาไม่คงที่ -ชำระค่าหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 -มีหุ้นบุริมสิทธิ -ต้องมีใบหุ้น ให้ผู้ถือหุ้น |
การออกเสียงลงคะแนน |
|
1 คน 1 เสียง มอบฉันทะให้ผู้อื่นออกเสียงแทนไม่ได้ |
1หุ้น 1 เสียง มอบฉันทะให้ผู้อื่นออกเสียงแทนได้ |
การเรียกประชุมใหญ่ “ครั้งหลัง” กรณี “ครั้งแรก” ไม่ครบองค์ประชุม |
|
นัดเรียกใหม่ภายใน 15 วัน |
นัดเรียนใหม่ไม่น้อยกว่า 14 วัน ไม่เกิน 6สัปดาห์ |
เงินทุนสำรอง |
|
จัดสรรเงินทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของผลกำไร ไม่กำหนดขั้นสูงของเงินทุนสำรอง |
จัดสรรเงินทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของผลกำไร จนกว่าจะมีทุนสำรองถึงร้อยละสิบของทุนเรือนหุ้น |
การจัดการ |
|
มุ่งประสิทธิผลและประสิทธิภาพทำธุรกิจกับสมาชิกผู้ถือหุ้นมีการเฉลี่ยคืนเงินส่วนเกินให้สมาชิตามธุรกิจ |
มุ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำธุรกิจกับลูกค้า ซึ่งมิใช่ผู้ถือหุ้นไม่มีการเฉลี่ยคืนกำไรให้กับลูกค้า |
สหกรณ์จำกัด |
บริษัทจำกัด |
ผู้ก่อตั้ง |
|
-สหกรณ์ลูกให้กำเนิดสหกรณ์แม่กล่าวคือ จัดตั้งสหกรณ์ขั้นมัธยมคือชุมนุมสหกรณ์ ซึ่งเป็นแม่ข่ายใหญ่สหกรณ์ลูก ต้องเลี้ยงสหกรณ์แม่ -สหกรณ์รวมกันตั้งบริษัทได้ |
-บริษัทแม่ให้กำเนิดบริษัทลูก ตั้งบริษัทที่เป็นสำนักงานใหญ่ก่อนจึงตั้งบริษัทสาขา
-บริษัทรวมกันตั้งสหกรณ์ไม่ได้ |
อุดมการณ์ |
|
Surplus |
Profit |
ช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พึ่งตนเอง และเอื้ออาทรผู้อื่น |
แข็งแรงอยู่ได้ อ่อนแอตายไป มือใครยาว สาวได้สาวเอา |
ลักษณะการรวมกัน |
|
มุ่งรวมคน |
มุ่งรวมเงินทุน |
การแบ่งกำไร |
|
แบ่งตามการมีส่วนร่วมในกิจการ |
แบ่งตามจำนวนหุนที่ถือ |