เนื้อหา |
---|
หลักการสหกรณ์
หลักการสหกรณ์ หมายถึง แนวทางสำหรับสหกรณ์ต่างๆ ในการนำคุณค่าของสหกรณ์ไปสู่การปฏิบัติอาจกล่าวได้ว่าหลักการของสหกรณ์นี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสหกรณ์ โดยมีหลักการพื้นฐานเดิมจากหลักของผู้นำแห่งรอชเดล แล้วจึงปรับปรุงเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
ปัจจุบันองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ (Intimation Cooperative Aliened) ซึ่งเป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นเป็นสมัชชาสหกรณ์ระหว่างประเทศ ซึ่งมีประเทศต่างๆ ที่นำวิธีการสหกรณ์ไปปฏิบัติเข้าร่วมกันเป็นสมาชิกรวม 94 ประเทศ ได้ประชุมเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2538 ที่เมืองแมนเชลเตอร์ ประเทศอังกฤษ ได้กำหนดหลักการสหกรณ์ไว้ 7 ข้อ คือ
1. การเป็นสมาชิโดยสมัครใจและเปิดกว้าง
2. การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย
3. การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสมาชิก
4. การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ
5. การศึกษา ฝึกอบรม และสารสนเทศ
6. การร่วมมือระหว่างสหกรณ์
7. การเอื้ออาทรต่อชุมชน
หลักการที่ 1 การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง

สหกรณ์เป็นองค์กรแห่งความสมัครใจ เปิดรับบุคคลทั่วไปที่สามารถใช้บริการสหกรณ์ได้และเต็มใจจะรับผิดชอบในฐานะสมาชิกเข้าเป็นสมาชิก โดยปราศจากการกีดกันทางเพศฐานะทางสังคมเชื้อชาติ การเมือง การศาสนา
การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจนี้ แสดงให้เห็นถึงความเปิดกว้างของสหกรณ์ไม่มีการแบ่งชนชั้น ไม่กีดกันหวงห้ามเอวไว้สำหรับกลุ่มพวกพ้องของตน ให้โอกาสทุกคนได้เข้าเป็นสมาชิกเท่าเทียมกัน จากหลักการข้อนี้จึงมุ่งสร้างพฤติกรรมให้เป็นคนใจกว้าง ไม่คับแคบ ไม่คิดเพียงแค่ประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง แต่มุ่งหวังเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
ความสมัครใจนี้ ตรงข้ามกับการบังคับ แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการแนะนำส่งเสริมไม่ใช่การขู่เข็ญล่อล่วง แต่มีข้อสังเกตคือ สหกรณ์มีการกำหนดคุณสมบัติของสมาชิกไว้ ทำให้ถึงแม้จะสมัครใจต้องการเป็นสมาชิกแต่อาจไม่ได้เป็นตามต้องการเพราะขาดคุณสมบัติ การกำหนดคุณสมบัติสมาชิกเป็นการมองทั้งระบบเพื่อให้สมาชิกดำเนินกิจกรรมกับสหกรณ์ได้
การรับสมัครสมาชิกสมทบ คือ สมาชิกที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน ควรมีเฉพาะสหกรณ์ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้ได้ ไม่กระทบต่อการส่งเสริมประโยชน์ของสมาชิกปกติเป็นการเปิดโอกาสเพื่อให้บุคคลสมัครใจเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ได้ จากกรณีการกำหนดคุณสมบัติ
การเริ่มต้นหลักการแห่งความสมัครใจ เพื่อให้สมาชิกในองค์กรสหกรณ์ใช้ความสมัครใจนี้ เป็นฐานในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป กล่าวคือ เมื่อสมัครใจเข้ามาย่อมเต็มใจเข้าประชุม เต็มใจร่วมธุรกิจ ยินดีรับผิดชอบ ยินดีปฏิบัติตนตามระเบียบ ภูมิใจในทรัพย์สินของสหกรณ์