เนื้อหา |
---|
หลักการที่ 7 การเอื้ออาทรต่อชุมชน
สหกรณ์พึงดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อการพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญยั่งยืนตามนโยบายที่มวลสมาชิกเห็นชอบ
สหกรณ์พึงดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน ตามนโยบายที่มวลสมาชิกให้ความเห็นชอบ จึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นองค์กรของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ปิดกั้นประโยชน์ไว้เฉพาะกลุ่ม เฉพาะสมาชิกมีความสนใจชุมชน สังคมรอบข้างและหาทางทำประโยชน์ให้กับชุ่มชนนั้นๆ ด้วย โดยสหกรณ์จัดสรรกำไรสุทธิมาเป็นทุนสาธารณประโยชน์เพื่อทำประโยชน์ให้กับชุมชน สิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น

สหกรณ์เป็นองค์การทางเศรษฐกิจและสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่สหกรณ์ตั้งอยู่เพราะฉะนั้น การดำเนินงานของสหกรณ์ต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนนั้น ๆ ซึ่งหมายความว่าเป็นการพัฒนาที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ หรือเป็นการพัฒนาที่สนองความต้องการและความใฝ่ฝันของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำลายโอกาส ความสามารถ และอนาคตของคนรุ่นหลัง เนื่องจากสมาชิกสหกรณ์เป็นสมาชิกของชุมชนนั้นเอง สหกรณ์จึงควรมีส่วนช่วยเหลือในการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน
วิธีการสหกรณ์

วิธีการสหกรณ์เป็นการรวมคนที่มีอุดมการณ์สหกรณ์มาทำธุรกิจร่วมกันตามหลักการ สหกรณ์เพื่อมุ่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก โดยบุคคลที่มารวมกันนั้นจะต้องช่วยตนเองได้ (โดยการขยัน ประหยัด พัฒนาชีวิต ไม่เสพติดอบายมุขทั้งหลาย) และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นี้เองเป็นพฤติกรรมที่สำคัญยิ่งที่จะนำกลุ่มคนที่พอมีกำลังช่วยตนเองได้ และมารวมกลุ่มกันนั้นประสบความสำเร็จ พฤติกรรมที่สำคัญของการรวมกันเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จอาจแยกได้ 2 ประการ คือ พฤติกรรมร่วมแรง โดยการเอาแรงกาย แรงทรัพย์ และแรงความคิดมาร่วมกันทำธุรกิจ พฤติกรรมทั้ง 2 ลักษณะมีรายละเอียดดังนี้
การร่วมแรงกันในสหกรณ์ เป็นการรวมแรงกาย คือ การรวมคนที่เป็นสมาชิกเข้ามาทำธุรกิจร่วมกัน ความสำเร็จของสหกรณ์มิใช่อยู่ที่จำนวนสมาชิก แต่อยู่ที่คุณภาพของสมาชิกว่ามีความรู้ความเข้าใจในหลักปฏิบัติของสหกรณ์มาก น้อยเพียงใด และที่สำคัญมีอุดมการณ์สหกรณ์มั่นคงเพียงใดเมื่อรวมคนเข้ามาเป็นสมาชิกแล้ว สมาชิกแต่ละคนต้องร่วมกันถือหุ้นในสหกรณ์ การถือหุ้นในสหกรณ์นั้นเป็นการเอาแรงทรัพย์มารวมกัน แต่สหกรณ์ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเงินมากนัก แต่มุ่งเน้นไปที่การรวมคนการเอาทรัพย์มารวมกันนี้ ในระยะแรกเงินนี้อาจจะน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของสมาชิกสหกรณ์ จึงต้องพึ่งเงินทุนจากภายนอกโดยการกู้ยืมมาดำเนินธุรกิจก่อน แล้วค่อยๆ สะสมทรัพย์ขึ้นไปตามลดับ โดยกำหนดให้สมาชิกต้องถือหุ้นเพิ่มเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ยังเก็บสำรองตามกฎหมายจากกำไรสุทธิของสหกรณ์ที่เกิดจากการดำเนิน ธุรกิจแต่ละปี นอกจากการรวมแรงคนแรงทรัพย์แล้วทุกคนที่มารวมกันเป็นสหกรณ์จะต้องเอาแรงความ คิดมาร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ โดยการแสดงความคิดเห็น เสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมแรงความคิดในสหกรณ์นี้เป็น เรื่องที่มีความสำคัญ สหกรณ์จึงต้องจัดการให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสหกรณ์และการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์แก่สมาชิกเป็นประจำในรูปของการ เผยแพร่ข่าวสารทางสหกรณ์การจัดประชุมและการให้การศึกษาอบรม ทั้งนี้เพราะเมื่อสมาชิกมีความรู้ความเข้าใจสหกรณ์ตลอดจนวิธีการดำเนิน ธุรกิจของสหกรณ์แล้ว การร่วมแรงทำธุรกิจจะเป็นไปได้โดยง่ายและเกิดความร่วมมือ
แต่ความสำเร็จของสหกรณ์ไม่ได้อยู่ที่การร่วมแรงเพียงด้านเดียว ทั้งนี้เพราะสมาชิกที่มารวมกันเป็นสหกรณ์นั้น ต่างจิต ต่างใจกัน มีความแตกต่างกันในความคิด การกระทำ และความรู้สึกดังนั้นการที่จะมาอยู่ร่วมกัน และร่วมมือกันดำเนินธุรกิจให้ก้าวหน้าทีความมั่นคงได้นั้น ต้องมีพฤติกรรมของการร่วมใจกัน ให้มีคามรู้สึกว่าทุกคนเป็นเพื่อนกัน หรือเป็นพี่น้องกัน หรืออยู่ร่วมกัน เหมือนสามีภรรยากาน การอยู่ร่วมกันได้อย่างมั่นคงและยืนยาวนั้น ควรมีคุณลักษณะนิสัย ดังนี้ 1. ต้องมีความซื่อสัตย์ 2. ต้องมีความเสียสละ 3. ต้องมีความสามัคคี 4. ต้องมีวินัย