เนื้อหา |
---|
ธุรกิจขาย
หมายถึง การทีสหกรณ์ดำเนินการรวบรวมผลผลิตของสมาชิกไปจำหน่ายหรือแปรรูปเป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์แห่งการจัดตั้งสหกรณ์ ในการทำงานร่วมกันไม่ใช่ต่างคนต่างผลิตต่างคนต่างขาย ผลผลิตที่สหกรณ์รวบรวมนั้นเป็นผลผลิตทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่สมาชิกทำการผลิต

ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขาย
1. การส่งเสริมการผลิต 2. สำรวจความต้องการร่วมธุรกิจ 3. รวบรวมข้อมูล 4. ดำเนินการรวบรวมผลผลิต 5. จำหน่ายหรือแปรรูป 6. ประเมินความพึงพอใจของสมาชิก
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจขาย
1.บุคลากรสหกรณ์ต้องให้ความสำคัญกับธุรกิจขาย โดยการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน
ของธุรกิจตามบทบาทหน้าที่ ความร่วมมือเป็นปัจจัยพื้นฐานของความสำเร็จของสหกรณ์ สหกรณ์ใดได้รับความร่วมมือจากบุคลากรย่อมประสบความสำเร็จ ในทิศทางตรงกันข้ามสหกรณ์ที่ไม่ได้รับความร่วมมือย่อมล้มเหลว และฐานความร่วมมือที่สำคัญคือสมาชิกสหกรณ์
2.เชื่อมโยงธุรกิจกับภาคเอกชนและระหว่างสหกรณ์อื่นๆ เป็นการแปรเปลี่ยนจากคู่แข่งเป็นคู่ค้า จากการแข่งขันเป็นความร่วมมือ จากศตรูเป็นมิตรภาพ จากภาวะเป็นพลัง
3.มีบริการที่ดีให้กับสมาชิก ปัจจัยนี้มีความสำคัญในทุกธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับคน
เนื่องจากคนมีการยึดตัวตน การได้รับบริการที่ดีเป็นการทำให้มีคุณค่า แต่ในกรณีที่ทำให้ตนไม่มีคุณค่าย่อมไม่ต้องการใช้บริการ
4.ผลผลิตต้องมีคุณภาพ ปัจจัยนี้ควรมีการสร้างระบบตรวจสอบย้อมกลับได้ว่าผลผลิต
ใดมาจากแหล่งใดเพื่อการรับประกันในกรณีคุณภาพดีสามารถใช้เป็นข้อมูลในการเพิ่มยอดการร่วมธุรกิจในกรณีคุณภาพไม่ดีสามารถร่วมพัฒนาแก้ไขปัญหาการผลิตได้ ระบบนี้ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานของสหกรณ์ในประเทศญี่ปุ่น และในปัจจุบันห้างสรรพสินค้าในประเทศไทยกำลังให้ความสำคัญ
5.สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นการยึดตลาดเป็นหลักในการผลิต สถานการณ์
ปัจจุบันต้องการสินค้าที่ปลอดภัยจากสารเคมี เป็นสอนค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นมิตรกับธรรมชาติใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สินค้าบางชนิดเมื่อทำด้วยมือจะมีราคาสูง
6.วิเคราะห์คู่แข่งอื่นๆ ที่ดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกัน โดยหลักของการผลิตจะยึด 3ประการ คือ เป็นผลิตภัณฑ์แรกย่อมสร้างความสนใจของลูกค้า หากเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันต้องมีความแปลกแตกต่างจากเดิม หากเหมือนกันต้องดีกว่าหรือดีที่สุดในบรรดาผลิตภัณฑ์เดียวกัน
7. มีการส่งเสริมการผลิต อันเป็นกิจการที่เดิมสหกรณ์ไม่มีจึงต้องสร้างขึ้นใหม่
ธุรกิจสินเชื่อ
หมายถึง การให้ทรัพย์สินสิ่งของหรือบริการที่เป็นประโยชน์ตรงกับความต้องการของสมาชิกโดยมีเงื่อนไขเมื่อถึงกำหนดเวลาก็ต้องนำมาส่งคืนพร้อมผลตอบแทน เช่น ดอกเบี้ย หรือผลตอบแทนอื่นๆ ตามข้อตกลงร่วมกันด้วยความเชื่อถือกัน เป็นธุรกิจดั้งเดิมของสหกรณ์ที่มีพื้นฐานมาจากการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ที่ต้องมีความเชื่อถือไว้วางใจกัน

ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจสินเชื่อ
1. สมาชิกมีความต้องการ 2. ขอใช้บริการสินเชื่อ 3. อนุมัติให้บริการสินเชื่อ 4. การใช้ประโยชน์ 5. การชำระคืน
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจสินเชื่อ
1.บุคลากรมีส่วนร่วมกับธุรกิจซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในทุกธุรกิจเป็นปัจจัยความสำเร็จของสหกรณ์ รวมถึงเป็นปัจจัยความสำเร็จของทุกองค์กร
2.เชื่อมโยงกับสหกรณ์อื่น เชื่อมโยงกับเอกชนในเรื่องเงินทุน เชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นของสหกรณ์การจัดการธุรกิจแบบเชื่อมโยงเป็นการสร้างความมั่นคงด้วยการเพิ่มฐานรากของธุรกิจ
3.บริการที่ดีให้กับสมาชิก ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการริการหลังจากร่วมธุรกิจ อันเป็นความผูกพันที่ไม่ร้างรา
4.ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น เรื่องอัตราดอกเบี้ย ภาวะการลงทุน ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลทางเศรษฐกิจทางการเงินในประเทศและต่างประเทศเนื่องจากปัจจุบันการเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความอ่อนไหว
5.วิเคราะห์คู่แข่ง ปัจจุบันคู่แข่งธุรกิจสินเชื่อมีมาก แข่งขันกันด้วยเทคนิควิธีการต่างๆสหกรณ์ควรมีข้อมูลที่นำมาประกอบการวิเคราะห์ คือ ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ อัตราดอกเบี้ย วงเงินกู้เงื่อนไขการชำระคืน การลด แลก แจก แถมเพื่อประชาสัมพันธ์ ต้องดำเนิน เพื่อช่วยสมาชิกให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ใช่เพื่อหากำไรเข้าสหกรณ์ ซึ่งเป็นจุดแข็งของสหกรณ์ที่เป็นภูมิคุ้มกันธุรกิจให้พัฒนาอย่างมั่นคง
ธุรกิจรับฝากเงิน
หมายถึง การที่สมาชิกนำเงินมาฝากกับสหกรณ์ สหกรณ์ทำหน้าที่รับฝากเงินของสมาชิกไว้เมื่อสมาชิกต้องการใช้เงินก็สามารถถอนเงินฝากดังกล่าว ระหว่างที่ฝากไว้สมาชิกได้รับผลตอบแทนจากสหกรณ์ในรูปดอกเบี้ยเงินฝาก ธุรกิจรับฝากเงินนี้บางครั้งก็รวมอยู่กับธุรกิจสินเชื่อเนื่องจากต้องอาศัยความเชื่อใจกันจึงจะนำเงินฝากไว้ แต่ในการนำเสนอครั้งนี้ขอแยกเป็นธุรกิจต่างหากเพื่อลงในรายละเอียดโดยเฉพาะ

ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจรับฝากเงิน
1. สมาชิกมีรายได้ 2. สมาชิกต้องการออมเงินไว้กับสหกรณ์ 3. สหกรณ์เปิดดำเนินธุรกิจรับฝาก 4. สหกรณ์รับฝากเงิน 5. สมาชิกถอนเงิน 6. ประเมินความพึงพอใจ
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจรับฝากเงิน
1.บุคลากรสหกรณ์มีส่วนร่วมในธุรกิจอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับทุกธุรกิจ
2.ให้การบริการสมาชิกที่ดี ตั้งแต่สมาชิกเริ่มทำธุรกิจ จนถึงขั้นสุดท้าย
3.เชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นของสหกรณ์ เช่นจัดสวัสดิการสงเคราะห์สำหรับสมาชิกที่มีเงินฝากโอนถอนเงินฝากชำระสินค้า
4.วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันแล้วดำเนินการให้สอดคล้อง เช่น อัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินอื่นๆ หรือ คนเริ่มให้ความสำคัญเรื่อง สุขภาพ คุณภาพชีวิต จึงเห็นความสำคัญของการออมมากขึ้น กลุ่มเยาวชนที่มีการส่งเสริมการออม เป็นต้น
5.มีบริการหลังขาย ธุรกิจรับฝากเงินสามารถจัดบริการหลังขายได้ เช่นเมื่อนำเงินมาฝากมีการแนะนำให้บริการจัดการรายได้-รายจ่าย เมื่อถอนเงินมีบริการแนะนำการใช้เงิน