เนื้อหา |
---|
1 .ช่วยให้เกิดการทำงานทางความคิดร่วมกัน 2. ช่วยให้เกิดความรอบคอบใน
การตัดสินใจ 3. ช่วยให้การกระจายข่าวสาร 4. ช่วยในการประสานงาน ประสานความคิดและสร้างความเข้าใจ 5. ช่วยให้แต่ละคนมีส่วนร่วมในการทำงาน 6. ช่วยให้แต่ละคนมีส่วนร่วมในการทำงาน 7. ช่วยให้เกิดแนวทางใหม่ วิธีการหรือกระบวนการใหม่ๆ จากการ เสนอความเห็นในการประชุม
เมื่อใดควรเรียกประชุม
- เมื่อไม่สามารถวิเคราะห์สาเหตุ สภาพและขอบเขตของปัญหาหรือไม่สามารถ
แก้ปัญหาโดยลำพัง - เมื่อมีเหตุการณ์ที่ต้องตัดสินใจโดยกลุ่ม - เมื่อต้องการการสนับสนุน หรือ ต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย - เมื่อต้องการหารือเพื่อกำหนดเป้าหมายร่วมกัน - เมื่อต้องการชี้แจงและให้ข้อแนะนำการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน - เมื่อต้องการการประนีประนอมข้อพิพาทหรือความขัดแย้ง - เมื่อต้องการให้เห็นความสำคัญของผู้ที่ได้รับเชิญมาเข้าประชุม - เมื่อต้องการชี้แจงนโยบายหรือให้เหตุผลในการตัดสินใจ - เมื่อต้องการทบทวนสิ่งที่มีมติไปแล้ว - เมื่อต้องการจัดการฝึกอบรมหรือจัดกิจกรรมใดๆ
การตัดสินใจเลือกผู้เข้าประชุม
- เป็นผู้ซึ่งจะให้ประโยชน์แก่ที่ประชุมในด้านความคิดเห็นที่สำคัญตามวัตถุประสงค์
ของการประชุม - เป็นผู้มีข้อมูลและรอบรู้ในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประชุม - เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับเรื่องประชุม - เป็นผู้อยู่ในฐานะต้องให้การรับรองมติหรือผลของการประชุม - เป็นผู้ที่ต้องมีส่วนรับผิดชอบในเรื่องที่ประชุม - เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจหรืออนุมัติให้มีการดำเนินการได้ตามมติของที่ประชุม - เป็นผู้ที่จำเป็นต้องรู้สาระที่นำเสนอในที่ประชุม
จำนวนผู้เข้าประชุมที่เหมาะสม
- การประชุมเพื่อการตัดสินใจควรมีจำนวนประมาณ 5 คน - การประชุมเพื่อ
การแก้ปัญหา ควรมีจำนวนประมาณ 7 คน - การประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจ ควรมีจำนวนประมาณ 7 คน - การประชุมเพื่อการบริการ ควรมีจำนวนประมาณ 10–15 คน - การประชุมเพื่อฝึกอบรม ควรมีจำนวนประมาณ 20-25 คน - การประชุมชี้แจง ควรมีจำนวนประมาณไม่เกิน 30 คน - การประชุมเพื่อแจ้งข่าวสารต่างๆ มีจำนวนเท่าใดก็ได้ตามจำนวนของผู้ที่จำเป็นต้องรู้
รายงานการประชุม
รายงานการประชุม คือ ข้อความบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมโดยระบุมติของที่ประชุม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง เพื่อยืนยันการปฏิบัติงาน เพื่อแสดงกิจการที่ดำเนินการมาแล้ว และเพื่อแจ้งผลการประชุมให้บุคคลที่เกี่ยวข้องได้ทราบและปฏิบัติต่อไป
รูปแบบของรายงานการประชุม
รายงานการประชุม.........................................
ครั้งที่..................................
เมื่อวันที่.........................................
ณ...................................................
------------------------
ผู้มาประชุม ........................................................................
ครั้งที่..................................
เมื่อวันที่.........................................
ณ...................................................
------------------------
ผู้มาประชุม ........................................................................
ผู้ไม่มาประชุม (ถ้ามี) ........................................................................
ผู้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี) ........................................................................
เริ่มประชุมเวลา .....................................น. (ข้อความ)..........................................................................................................
เลิกประชุมเวลา ....................................น.
.............................................................
ผู้จดรายงานการประชุม
ส่วนประกอบของรายงานการประชุมผู้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี) ........................................................................
เริ่มประชุมเวลา .....................................น. (ข้อความ)..........................................................................................................
เลิกประชุมเวลา ....................................น.
.............................................................
ผู้จดรายงานการประชุม
1. รายงานการประชุมของใคร ให้ลงชื่อคณะที่ประชุมหรือชื่อการประชุมนั้น
2. ครั้งที่ ให้ลงครั้งที่ประชุมว่า เป็นการประชุมครั้งที่เท่าใกของปีนั้นเรียงลำดับไปตามปีปฏิทินและทับ (/) ด้วยปีพุทธศักราช เมื่อขึ้นปีใหม่ให้เริ่มต้นนับ 1 ใหม่
3. วัน เดือน ปี ให้ลงวันเดือนปีที่ประชุม อาจขึ้นต้นด้วยคำว่า เมื่อ
4. สถานที่ประชุม ให้ระบุสถานที่ที่ใช้ดำเนินการประชุม
5. ผู้มาประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมและได้มาประชุม หากมีผู้มาประชุมแทน ให้ลงชื่อผู้มาประชุมแทนพร้อมทั้งระบุว่าแทนผู้ใดหรือตำแหน่งใด
6. ผู้ไม่มาประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งไม่ได้มาประชุมพร้อมทั้งระบุเหตุผล (ถ้ามี) ทั้งนี้ การระบุเหตุผลนิยมใช้ว่า ลาป่วย ลากิจหรือติดราชการ
7. เข้าร่วมประชุม ให้ลงชื่อและตำแหน่งของผู้ที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมแต่ ได้เข้าร่วมประชุม
8. เริ่มประชุมเวลา ให้ลงเวลาที่เริ่มประชุมตามเวลาจริง ไม่ใช่เวลานัดประชุมเพราะการประชุมอาจล่าช้ากว่ากำหนด
9. ข้อความ การจดรายงานการประชุมมี 3 วิธี คือ
9.1 จดละเอียดทุกคำพูดพร้อมทั้งมติ
9.2 จดย่อคำพูดที่เป็นประเด็นสำคัญพร้อมทั้งมติ
9.3 จดเฉพาะเหตุผลและมติของที่ประชุม
ระเบียบงานสารบรรณ สำนักนายกรัฐมนตรีแบ่งระเบียบวาระการประชุมเป็น 5 วาระดังนี้
1) เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
2) การรับรองรายงานการประชุม
3) เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ
4) เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
5) เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
10. เลิกประชุมเวลา ให้ลงเวลาเลิกประชุมตามเวลาจริง
11. ผู้จดรายงานการประชุม ให้ลงชื่อผู้จดรายงานการประชุม