เนื้อหา |
---|
การประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การติดต่อประชาสัมพันธ์อย่างมีแบบแผน ต่อเนื่องกับกลุ่มคน หรือประชาชน ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดี และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถาบันนั้นๆ เป็นงานที่ต้องอาศัยระยะเวลากระทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นการติดต่อสื่อสารสองทาง คือ ส่งสารไปยังกลุ่มประชาชนและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความร่วมมือร่วมใจ สนับสนุนให้ประเทศชาติพัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น

การประชาสัมพันธ์เป็นงานที่ต้องการความละเอียดรอบคอบ และไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ควรยึดหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1. การบอกกล่าวหรือชี้แจง เผยแพร่ให้ทราบ คือ เป็นการบอกให้ประชาชนทราบถึง
นโยบาย วัตถุประสงค์การดำเนินการ ผลงานและกิจกรรม ความเคลื่อนไหวขององค์การหรือหน่วยงาน
2. การป้องกันและการแก้ไขความเข้าใจผิด การป้องกัน คือ การประชาสัมพันธ์เพื่อ
ระมัดระวังไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ประชาชน ในเรื่องวัตถุประสงค์การดำเนินงานขององค์กรหรือหน่วยงาน
3. สำรวจประชามติ คือ การสำรวจความรู้สึกนึกคิดของประชาชน เพื่อให้ทราบถึง
ประชามติ และนำประชามติมาเป็นแนวทางให้องค์การหรือหน่วยงานดำเนินการ ประชามติคือ หัวใจของการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ และจะเป็นแนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้
ความสำคัญของสื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์
1. เพื่อการถ่ายทอดหรือบอกข่าวสารให้ประชาชนทราบ
2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
3. เพื่อสร้างความนิยมและภาพพจน์ที่ดีขององค์การ
สรุป หลักการประชาสัมพันธ์
หลักการประชาสัมพันธ์

ประโยชน์ของการสหกรณ์
นับตั้งแต่ได้มีการริเริ่มนำเอาวิธีการสหกรณ์มาใช้ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนที่ที่สภาพปัญหาและความต้องการอย่างเดียวกันได้เป็นผลสำเร็จในปลายศตวรรษที่ 18 แล้ว วิธีการสหกรณ์ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางและแพร่ขยายไปทั่วโลกจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า วิธีการสหกรณ์เป็นเครื่องมือที่จะแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขบวนการสหกรณ์ที่เข้มแข็งและมีการพัฒนาจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ จะมีบทบาทอย่างสำคัญต่อสมาชิกทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม แม้ว่าบทบาทนี้แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศ แต่ก็อาจกล่าวได้ว่าบทบาทที่สำคัญของสหกรณ์ที่มีต่อกระบวนการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยทั่วไป มีดังนี้
บทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ
1.สหกรณ์สามารถรักษาเสถียรภาพและตรึงราคาสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจใน
ขณะเดียวกัน ก็ช่วย คุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกร โดยยกระดับราคาสินค้าผลิตผลการเกษตร
ให้สูงขึ้นด้วยวิธีการดำเนินธุรกิจแบบรวมกันขาย และสามารถให้บริการสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพและประกอบอาชีพโดยวิธีการรวมกันซื้อ
2.แก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้โดยสามารถกรายผลประโยชน์ ไปสู่ประชาชนเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนเป็นเจ้าของและควบคุมธุรกิจการค้าอุตสาหกรรมและบริการของตนเอง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จึงตกเป็นของประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหาได้ จากการดำเนินธุรกิจของเอกชน จึงอาจกล่าวได้ว่าสหกรณ์เป็นโอกาสทางธุรกิจที่เป็นไปได้สำหรับประชาชนสามัญทั่วไป

บทบาทในการพัฒนาสังคม
1. ให้โอกาสในการศึกษาแก่ประชาชน ทั้งในด้านวิชาการต่างๆ นอกระบบโรงเรียนตามหลักการของสหกรณ์ที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ รวมไปจนถึงให้โอกาสในการเรียนรู้ถึงการร่วมกัน ดำเนินธุรกิจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
2. สร้างผู้นำในระดับท้องถิ่น ฝึกหัดให้บุคคลมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เข้าใจในวิธีการของระบบประชาธิปไตย รู้จักใช้สิทธิ รู้หน้าที่ เป็นแหล่งพัฒนาคนให้เข้าใจในประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีของการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเมืองระดับท้องถิ่น และการปกครองตนเองตามแนวทางของรัฐบาล (เช่น การมีบทบาทใน อบต.)
3. เสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ด้วยหลักการบริหารที่สมาชิกทุกคนมีสิทธิเสมอกัน