เนื้อหา |
---|
จากพระราชดำรัสสู่การปฏิบัติ
การดำเนินงานพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีจะมีหน่วยงานหลักคือสำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่รับผิดชอบในการนำพระราชดำรัสมาสู่การปฏิบัติ โดยผ่านทางแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งจัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่พ.ศ. 2535 เป็นแผนระยะ 5 ปี (ฉบับที่ 1-3) และ 10 ปี (ฉบับที่ 4) แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำรินี้จึงเป็นกรอบแนวคิดและทิศทางการพัฒนาเด็กนักเรียนให้แก่โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริทุกโรง
แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2550-2559 มีเป้าหมายสูงสุด คือ เด็กและเยาวชน มีโภชนาการดีสุขภาพแข็งแรง ใฝ่เรียนรู้ ซื่อสัตย์ ประหยัด และอดทน มีความรู้และทักษะทางวิชาการและการอาชีพเพื่อเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต รักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติได้
ในการพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียนตามพระราชดำรินั้น จึงมีเป้าหมายที่ให้เด็กนักเรียนทุกคนมีภาระโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นการพัฒนาที่มีเด็กนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะและตุณลักษณะที่เหมาะสมที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ในที่สุด มีโรงเรียนเป็นฐานที่สำคัญของการปฏิบัติงานและครูเป็นแผนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา พร้อมกับอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
บทเรียนจากโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริที่ได้ดำเนินการพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 30 ปี มีองค์ประกอบของการพัฒนา ดังนี้
1. การเกษตรในโรงเรียน
2. สหกรณ์นักเรียน
3. การจัดบริการอาหารของโรงเรียน
4. การติดตามภาวะโภชนาการ
5. การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
7. การจัดบริการสุขภาพ
8. การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย
สมเด็จพระเทพ ฯ ทรงใช้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันเป็นจุดเชื่อมโยงการดำเนินกิจกรรมพัฒนาอื่น ๆ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
กรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียน
ความเชื่อมโยงของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน กับการพัฒนาศักยภาพของเด็กนักเรียน
การดำเนินงานพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีจะมีหน่วยงานหลักคือสำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่รับผิดชอบในการนำพระราชดำรัสมาสู่การปฏิบัติ โดยผ่านทางแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งจัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่พ.ศ. 2535 เป็นแผนระยะ 5 ปี (ฉบับที่ 1-3) และ 10 ปี (ฉบับที่ 4) แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำรินี้จึงเป็นกรอบแนวคิดและทิศทางการพัฒนาเด็กนักเรียนให้แก่โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริทุกโรง

แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2550-2559 มีเป้าหมายสูงสุด คือ เด็กและเยาวชน มีโภชนาการดีสุขภาพแข็งแรง ใฝ่เรียนรู้ ซื่อสัตย์ ประหยัด และอดทน มีความรู้และทักษะทางวิชาการและการอาชีพเพื่อเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต รักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติได้
ในการพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียนตามพระราชดำรินั้น จึงมีเป้าหมายที่ให้เด็กนักเรียนทุกคนมีภาระโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นการพัฒนาที่มีเด็กนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะและตุณลักษณะที่เหมาะสมที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ในที่สุด มีโรงเรียนเป็นฐานที่สำคัญของการปฏิบัติงานและครูเป็นแผนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา พร้อมกับอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
บทเรียนจากโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริที่ได้ดำเนินการพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 30 ปี มีองค์ประกอบของการพัฒนา ดังนี้
1. การเกษตรในโรงเรียน
2. สหกรณ์นักเรียน
3. การจัดบริการอาหารของโรงเรียน
4. การติดตามภาวะโภชนาการ
5. การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
7. การจัดบริการสุขภาพ
8. การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย
สมเด็จพระเทพ ฯ ทรงใช้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันเป็นจุดเชื่อมโยงการดำเนินกิจกรรมพัฒนาอื่น ๆ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
กรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียน

ความเชื่อมโยงของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน กับการพัฒนาศักยภาพของเด็กนักเรียน
