เนื้อหา |
---|
กลไกราคาในตลาด
ราคา
ราคาสินค้า คือ มูลค่าของสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการทำการผลิตได้และนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค เช่น นาย ก ผลิตปากกาออกขายให้แก่นักเรียนในราคาด้ามละ 5 บาท เป็นต้น ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งมีการผลิตการบริโภค ส่วนใหญ่เป็นเรื่องขอภาคเอกชน โดยผ่านกลไกของราคา นั้น ราคาสินค้าและบริการ จะทำหน้าที่ 3 ประการ คือ
กำหนดมูลค่าของสินค้า ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ใช้เงินเป็นสื่อกลาง ราคาจะทำหน้าที่กำหนดมูลค่าเพื่อให้ผู้ซื้อตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าในมูลค่าที่คุ้มหรือไม่คุ้มกับเงินที่เขาจะต้องเสียไปราคาสินค้าบางแห่งก็กำหนดไว้แน่นอนตายตัว แต่บางแห่งก็ตั้งไว้เผื่อต่อ เพื่อให้ผู้ซื้อต่อรองราคาได้ กำหนดปริมาณสินค้า ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันนั้นถ้าสินค้ามีราคาถูก ผู้ซื้อจะซื้อปริมาณมากขึ้นส่วนผู้ขายจะเสนอขายในปริมาณน้อยลงแต่ถ้าสินค้ามีราคาแพงผู้ซื้อจะซื้อปริมาณน้อยลง ส่วนผู้ขายจะขายในปริมาณมากขึ้น ราคาจึงเป็นตัวกำหนดปริมาณสินค้าที่จะซื้อขายกัน
กำหนดปริมาณการผลิตของผู้ประกอบการ ในระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งการผลิตส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเอกชนนั้น จะมีปัญหาว่าผู้ผลิตควรจะผลิตในปริมาณสักเท่าใดจึงจะพอดีกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้เขาได้กำไรสูงสุดตามที่ต้องการ โดยสังเกตความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน) ของสินค้าที่เราทำการผลิตในระดับราคาต่างๆ กันเพื่อหาดุลยภาพ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะทำการซื้อขายกันในปริมาณและราคาที่ตรงกัน ปริมาณที่มีการซื้อขาย ณ จุดดุลยภาพ เรียกว่า ปริมาณดุลยภาพ และผู้ซื้อมีความต้องการซื้อ ส่วนราคาที่ดุลยภาพ เรียกว่า ราคาดุลยภาพ อันเป็นราคาที่ผู้ผลิตควรพิจารณาในการตั้งราคาขาย


วิธีการขั้นพื้นฐานในการตั้งราคา
วิธีการขั้นพื้นฐานในการตั้งราคา นิยมกันอยู่ทั่วไป 3 วิธี คือ
1. วิธีการตั้งราคาโดยยึดต้นทุนเป็นเกณฑ์ วิธีปฏิบัติมี 2 แบบคือ
- ตั้งราคาโดยยึดต้นทุนบวกกำไร ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนทั้งหมด + กำไรที่ต้องการ
จำนวนการผลิต วิธีนี้จะใช้ได้ต้องแน่ใจว่าจำนวนผลิตต้องเท่ากับจำนวนจำหน่าย ผู้ขายจึงจะมีกำไรตามที่ต้องการสำหรับพ่อค้าคนกลาง อาจจะบวกกำไรกับต้นทุนได้หลายลักษณะ เช่น
(กำไร) ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนต่อหน่วย + 10% ของราคาขาย
(กำไร) ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนต่อหน่วย + 10% ของราคาทุน
- วิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน จุดคุ้มทุน (Break-Even Point) เป็นจุดที่แสดงว่าปริมาณ ณ
จุดของการผลิต หรือการจำหน่าย รายได้รวมจะเท่ากับต้นทุนรวมพอดี สูตรจุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ทั้งหมด
2. วิธีการตั้งราคาโดยยึดความต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์นั้น สามารถจำแนกได้เป็นลักษณะ
ย่อยๆ ดังนี้
- การตั้งราคาในตลาดผูกขาด
- การตั้งราคาในตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์
- การตั้งราคาในตลาดที่มีการแข่งขันน้อยรายระดับราคาที่เหมาะสมของสินค้าในตลาด
ทั้ง 3 ประเภทอาศัยแนวความคิดเดียวกัน คือ ผู้ผลิตต้องพยายามผลิต และขายในปริมาณที่ทำให้เกิดกำไรสูงสุด โดยสรุปได้ว่า ระดับราคาที่เหมาะสม อยู่ที่ปริมาณการผลิตที่ทำให้ต้นทุนเพิ่มเท่ากับรายได้ส่วนเพิ่ม แต่ราคาจะต่างกัน ตามลักษณะเส้นอุปสงค์ของตลาดแต่ละประเภท
- การตั้งราคาในตลาดที่มีความแตกต่างกันในดานความต้องการซึ่งระดับราคา จะ
แตกต่างตามกรณี เช่น ลูกค้ามีมากกว่า 1 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มมีความต้องการสินค้าแตกต่างกัน กลุ่มใดมีความต้องการและความจำเป็นมาก ราคาจะสูงกว่ากลุ่มอื่น ลูกค้าแต่ละกลุ่มอยู่ห่างไกลกัน
- ช่วงเวลาที่ขายสินค้าแตกต่างกัน ระดับราคาสินค้าที่จำหน่ายในแต่ละช่วง เวลาจะไม่
เท่ากัน เช่น รถรับ-ส่งสองแถว เป็นต้น
3. วิธีการตั้งราคาโดยยึดการแข่งขั้นเป็นเกณฑ์
การตั้งราคาโดยมุ่งพิจารณาที่การแข่งขัน เป็นวิธีการที่นักการตลาดเห็นความสำคัญของ
คู่แข่งขันมากกว่าความสำคัญของความต้องการของตลาดและต้นทุน ลักษณะ ราคา เช่น นี้อาจเกิดขึ้นในช่วยเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน ระดับราคา ไม่จำเป็นต้องเท่าเทียมกับคู่แข่งขัน อาจสูงกว่าหรือต่ำกว่าก็ได้ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนถึงการตั้งราคาในลักษณะนี้ได้แก่
- กำหนดราคาตามคู่แข่งขัน
- การกำหนดราคาโดยยื่นซองประมูล
