เนื้อหา

หมวด 7
การประชุมใหญ่

ข้อ    32    การประชุมใหญ่สามัญ    ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์นัดสมาชิกมาประชุมกันเป็นการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกของโรงเรียนเมื่อมีการประชุมใหญ่ของโรงเรียน
การประชุมใหญ่สามัญครั้งต่อไป  ให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกประชุมปีละหนึ่งครั้งภายในระยะเวลาที่กำหนดและสมควรแต่ต้องก่อนวันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์
ข้อ    33    การประชุมใหญ่วิสามัญ คณะกรรมการดำเนินการจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็ได้  แต่ถ้านายทะเบียนสหกรณ์มีหนังสือแจ้งให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ  หรือในกรณีที่สหกรณ์ขาดทุนเกินกึ่งของจำนวนทุนเรือนหุ้นที่ชำระแล้วต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญโดยมิชักช้าแต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่สหกรณ์ทราบ

หมวด 8
คณะกรรมการดำเนินการ

ข้อ    34    คณะกรรมการดำเนินการ    ให้สหกรณ์มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์    ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน  และกรรมการดำเนินการครูจำนวนห้าคนและนักเรียนจำนวนห้าคน  ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกที่เป็นนักเรียนและครูบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
ให้กรรมการดำเนินการเลือกตั้งในระหว่างกันเองขึ้นดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน เลขานุการคนหนึ่ง และ/หรือเหรัญญิกคนหนึ่ง นอกนั้นเป็นกรรมการ และปิดประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน  ณ  สำนักงานที่ทำการสหกรณ์

ข้อ    35    อำนาจหน้าที่ของกรรมการดำเนินการแต่ละตำแหน่ง
(ก)    ประธานกรรมการ   มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1)    เป็นประธานในที่ประชุมใหญ่   และที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ   และควบคุมการประชุมดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(2)    ควบคุมดูแลการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและอยู่ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
(3)    ลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ในนามสหกรณ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
(4)    ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์
(ข)    รองประธานกรรมการ   มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1)    ปฏิบัติการในอำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการแทนประธานกรรมการ เมื่อประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งประธานกรรมการว่างลง
(2)    ปฏิบัติการตามที่ประธานกรรมการมอบหมายให้
(3)    ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ  ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์
(ค)    เลขานุการ   มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1)    จัดทำรายงานการประชุมใหญ่ และรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการทุกครั้ง
(2)    ดูแลรักษาเอกสาร และรายงานการประชุมของสหกรณ์ให้เรียบร้อยอยู่เสมอ
(3)    แจ้งนัดประชุมไปยังบรรดาสมาชิก  หรือกรรมการดำเนินการ   แล้วแต่กรณี
(4)    ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ  ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์
(ง)    เหรัญญิก   มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1)    ควบคุม ดูแล ตรวจสอบการรับจ่ายและเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของสหกรณ์ให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย
(2)    ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ  ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์
ข้อ    36    กำหนดเวลาอยู่ในตำแหน่ง   คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีนับแต่วันเลือกตั้ง  ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันเลือกตั้ง  ให้กรรมการดำเนินการสหกรณ์ออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนหนึ่งในสองของกรรมการดำเนินการสหกรณ์ทั้งหมดโดยวิธีจับสลากหรือลาอก (ถ้ามีเศษให้ปัดขึ้น) และให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ  ในปีต่อไปให้กรรมการดำเนินการที่อยู่ในตำแหน่งจนครบวาระหรืออยู่นานที่สุดออกจากตำแหน่งสลับกันไปทุก ๆ ปี
เมื่อครบกำหนดแล้ว  หากยังไม่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่  ก็ให้คณะกรรมการดำเนินการชุดเดิมรักษาการไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่    แต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันครบวาระ
กรรมการดำเนินการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับเลือกตั้งซ้ำอีกได้  แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
ในกรณีที่กรรมการดำเนินการต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ  ให้กรรมการดำเนินการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่อยู่ในตำแหน่งได้เช่นเดียวกับกรรมการดำเนินการชุดแรก  และให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ    37    การพ้นจากตำแหน่ง    กรรมการดำเนินการต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1)    ถึงคราวออกตามวาระ
(2)    ลาออก   โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ  หรือลาออกต่อที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์
(3)    ขาดจากสมาชิกภาพ
(4)    เข้ารับตำแหน่งหน้าที่ประจำในสหกรณ์นี้
(5)    ที่ประชุมใหญ่ลงมติถอดถอนทั้งคณะหรือรายตัว
กรณีที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติถอดถอนให้กรรมการดำเนินการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ  ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการใหม่ทั้งคณะอยู่ในตำแหน่งได้เช่นเดียวกับคณะกรรมการดำเนินการชุดแรก
ข้อ    38    อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการ     คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการทั้งปวงของสหกรณ์  ให้เป็นไปตามกฎหมาย  ข้อบังคับ ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์   กับทั้งในทางอันจะทำให้เกิดความจำเริญแก่สหกรณ์   ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้
(1)    พิจารณาในเรื่องการรับสมาชิกและสมาชิกออกจากสหกรณ์ ตลอดจนดูแลให้สมาชิกปฏิบัติการต่าง ๆ  ตามกฎหมาย  ข้อบังคับ  ระเบียบ  มติและคำสั่งของสหกรณ์
(2)    พิจารณาในเรื่องการจัดซื้อ-จำหน่ายสินค้าหรือลงทุนเงินของสหกรณ์
 (4)    เสนอแนะการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีต่อที่ประชุมใหญ่
(5)    เสนอแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ที่ประชุมใหญ่อนุมัติ
(6)    พิจารณาดำเนินการแต่งตั้งหรือจ้าง  และกำหนดค่าตอบแทนของผู้จำหน่ายสินค้า  ตลอดจนควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้จำหน่ายสินค้าให้ถูกต้อง
 (8)    กำหนดระเบียบต่าง ๆ ของสหกรณ์
(9)    จัดให้มี และดูแลให้เรียบร้อยซึ่งบรรดาทะเบียน สมุดบัญชี เอกสารต่าง ๆ  และบรรดาอุปกรณ์ดำเนินงานของสหกรณ์
ข้อ    39    ความรับผิดของคณะกรรมการดำเนินการ    ในกรณีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กระทำการหรืองดเว้นการกระทำการ  หรือกระทำการโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของตนจนทำให้เสียผลประโยชน์ของสหกรณ์หรือสมาชิก  อันเป็นเหตุให้สหกรณ์มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงิน  การบัญชี  หรือกิจการ  หรือฐานะการเงินตามรายงานการสอบบัญชีหรือรายงานการตรวจสอบ  เป็นเหตุให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย  คณะกรรมการดำเนินการต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่สหกรณ์

คณะกรรมการอื่น
ข้อ    40    คณะกรรมการอำนวยการ    โดยผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นประธานกรรมการ  รองผู้อำนวยการ เป็นกรรมการอำนวยการ  และให้คณะกรรมการดำเนินการตั้งกรรมการดำเนินการอื่นเป็นกรรมการร่วมอีกตามสมควร
ข้อวินิจฉัยทั้งปวงของคณะกรรมการอำนวยการ ให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมคราวถัดไปทราบ
ข้อ    41    อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ  ให้คณะกรรมการอำนวยการเป็นผู้ดำเนินกิจการแทนคณะกรรมการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย  และตามกฎหมาย  ข้อบังคับ  ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์   ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้
(1)    ควบคุมในเรื่องการรับเงิน  การจ่ายเงิน  การสะสมเงิน  การฝากหรือการเก็บรักษาเงิน   ให้เป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์
(2)    ควบคุมการจัดทำบัญชี และทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
(3)    ควบคุมดูแล เก็บรักษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ  ตลอดจนทรัพย์สินของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดี  และปลอดภัย  และพร้อมที่จะให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ทันที

หมวด  9
ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์

ข้อ    42    การแต่งตั้งผู้จัดการ    คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความรู้ความสามารถและความเหมาะสมเพื่อแต่งตั้งหรือจ้างเป็นผู้จัดการของสหกรณ์  โดยต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้าม
ในการแต่งตั้งหรือจ้างผู้จัดการ  ต้องให้ผู้จัดการรับทราบ และรับรองที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกำหนดไว้
ให้คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจกำหนดระเบียบของสหกรณ์เกี่ยวกับการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือก  การแต่งตั้งหรือจ้าง  การกำหนดอัตราเงินเดือน  การให้สวัสดิการ  และการให้ออกจากตำแหน่งของผู้จัดการ
ข้อ    43    การดำรงตำแหน่งผู้จัดการ     แต่งตั้งจากให้อยู่ตามวาระคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ที่ได้รับการแต่งตั้งสหกรณ์อาจจ้างผู้จัดการโดยกำหนดระยะเวลาหรือไม่กำหนดระยะเวลาก็ได้
ข้อ    44    อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดการ   ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทั่วไปและรับผิดชอบเกี่ยวกับบรรดากิจการประจำของสหกรณ์ รวมทั้งในข้อต่อไปนี้
(1)    ตรวจสอบการสมัครเข้าเป็นสมาชิกให้เป็นการถูกต้อง ตลอดจนเป็นธุระจัดให้ผู้เข้าเป็นสมาชิกลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก และชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้ากับเงินค่าหุ้นตามข้อบังคับของสหกรณ์
(2)    จัดการทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับการค้าและการบริการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สหกรณ์
(3)    พิจารณาจัดจ้างเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในระเบียบของสหกรณ์รวมถึงกำหนดหน้าที่และวิธีปฏิบัติงานของบรรดาเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ตลอดจนเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เหล่านั้นให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย
(4)    เป็นธุระกวดขันในเรื่องการออกใบรับ เรียกใบรับ หรือจัดให้มีใบสำคัญโดยครบถ้วน  รับผิดชอบในการรับจ่ายเงินของสหกรณ์ให้เป็นการถูกต้อง  รวบรวมใบสำคัญและเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงินไว้โดยครบถ้วน  และดำเนินการค้า  การบริหารด้วยความเที่ยงตรงสุจริต  และเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์
(5)    รับผิดชอบและดูแลในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่างๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
(6)    ติดต่อประสานงานกับเลขานุการในการนัดเรียกประชุมใหญ่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ  และประชุมคณะกรรมการอื่น ๆ
(7)    รับผิดชอบจัดทำงบดุลรวมทั้งบัญชีกำไรขาดทุน  และรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา   เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่อนุมัติ
(8)    จัดทำแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา
(9)    จัดทำแผนปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่   ให้สอดคล้องกับแผนงานที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่เข้าร่วมประชุมและชี้แจงในการประชุมใหญ่  ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ  และประชุมคณะกรรมการอื่น ๆ  เว้นแต่กรณีซึ่งที่ประชุมนั้น ๆ  มิให้เข้าร่วมประชุม
(10)    ปฏิบัติการเกี่ยวกับงานสารบรรณของสหกรณ์
(11)    รักษาดวงตราของสหกรณ์ และรับผิดชอบตรวจตราดูแลทรัพย์สินต่าง ๆ   ตลอดจนสินค้าของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย
(12)    เสนอรายงานกิจการประจำเดือนของสหกรณ์ต่อคณะกรรมการดำเนินการ
(13)    เสนอรายการหรือรายงานของสหกรณ์ต่อทางราชการ    ตามแบบและระยะเวลาที่ทางราชการกำหนด
(14) ค้ำประกันเงินกู้ที่สหกรณ์กู้ยืมจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยรับผิดชอบการค้ำประกันในฐานะส่วนตัว
(15)    ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการอื่น ๆ ของสหกรณ์มอบหมาย   หรือตามที่ควรกระทำเพื่อให้กิจการในหน้าที่ลุล่วงไปด้วยดี
ข้อ    65 การพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการ ผู้จัดการต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด  ต่อไปนี้
(1)    ตาย
(2)    ลาออกโดยแสดงความจำนงทำเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ
(3)    ขาดคุณสมบัติตามระเบียบของสหกรณ์ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามสหกรณ์กำหนด
(4)    อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์   หรือครบกำหนดตามสัญญาจ้าง
(5)    ถูกเลิกจ้าง
(6)    ถูกลงโทษให้ออกหรือไล่ออกหรือมีพฤติกรรมอันแสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าได้กระทำการ  หรือละเว้นการกระทำการใด ๆ อันอาจทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีแก่ประชาชน  หรือไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์
ข้อ    45    การลาออกของผู้จัดการ    ให้ผู้จัดการยื่นหนังสือถึงสหกรณ์ก่อนวันที่จะออกไม่น้อยกว่าสามสิบวัน  และให้เลขานุการคณะกรรมการดำเนินการนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์พิจารณาการลาออกนั้น   การยับยั้งการลาออกของผู้จัดการสหกรณ์กระทำได้ไม่เกินหกสิบวัน
ข้อ    46    การมอบหมายงานในหน้าที่ผู้จัดการให้กรรมการดำเนินการ    ถ้าสหกรณ์ยังมิได้มีการจัดจ้างและแต่งตั้งผู้จัดการ  หรือสหกรณ์ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะจัดจ้างเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ในตำแหน่งอื่นด้วยได้  ให้คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้จัดการให้กรรมการดำเนินการคนใดคนหนึ่งตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินห้าปี
ข้อ    46    การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนผู้จัดการ    ถ้าตำแหน่งผู้จัดการว่างลงและยังไม่ได้แต่งตั้งให้ผู้ใดดำรงตำแหน่งแทน  หรือเมื่อผู้จัดการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราว   ให้รองผู้จัดการหรือ    ผู้ช่วยผู้จัดการ   หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายเป็นผู้รักษาการแทน
ข้อ    47    การเปลี่ยนผู้จัดการ    ในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้จัดการให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการต้องจัดให้มีการตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีและการเงิน  สินค้าคงเหลือ  กับบรรดาทรัพย์สินและหนี้สิน  ตลอดจนจัดทำงบดุลของสหกรณ์เพื่อทราบฐานะอันแท้จริงก่อนที่จะส่งมอบงาน



                          (ลงชื่อ)                                        อำนวยการโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
                             (  ..................................... )

เนื้อหารายวิชา