เนื้อหา

บัญชีครัวเรือน ( Home Accounting )กับเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทรา เรืองสินภิญญา
“บัญชีครัวเรือน” เป็นการประยุกต์ทางการบัญชีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้จัดทาบัญชีครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จาเป็น ทาให้เกิดการประหยัดและการออม และในที่สุดจะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างยั่งยืน จากรายงานการวิจัยหลายฉบับได้สนับสนุนถึงประโยชน์ของการจัดทาบัญชีครัวเรือน แต่พบว่าบุคคลส่วนใหญ่ยังคงไม่มีการจัดทา เอกสารนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการจัดทาบัญชีครัวเรือน อันจะเป็นผลให้มีการจัดทาบัญชีครัวเรือนมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจาก “บัญชีครัวเรือน” เป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงขอกล่าวถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก่อน
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ไว้ดังนี้
สุเมธ ตันติเวชกุล (2550, หน้า 45) ได้กล่าวสรุปความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดาริไว้ว่า หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (self-sufficiency) อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตัวเองให้ดีเสียก่อน คือให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างพอกินพอใช้ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็วเพียงอย่างเดียว
ประเวศ วะสี (2550, หน้า 5) กล่าวว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง พอเพียงในอย่างน้อย 7 ประการด้วยกัน คือ 1) พอเพียงสาหรับทุกคน ทุกครอบครัว ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบทอดทิ้งกัน 2) จิตใจพอเพียง ทาให้รักและเอื้ออาทรคนอื่นได้ คนที่ไม่พอจะรักคนอื่นไม่เป็น และทาลายมาก 3) สิ่งแวดล้อมพอเพียง การอนุรักษ์และเพิ่มพูนสิ่งแวดล้อม ทาให้ยังชีพและทามาหากินได้ เช่น การทาเกษตรผสมผสาน ซึ่งได้ทั้งอาหารได้ทั้งสิ่งแวดล้อม และได้ทั้งเงิน 4) ชุมชนเข้มแข็งพอเพียง การรวมตัวกันเป็นชุมชนเข้มแข็งจะทาให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ เช่น ปัญหาสังคม ปัญหาความยากจน หรือปัญหาสิ่งแวดล้อม 5) ปัญญาพอเพียง มีการเรียนรู้ร่วมกันในทางปฏิบัติ และปรับตัวได้อย่างต่อเนื่อง 6) อยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรมพอเพียง วัฒนธรรมหมายถึง วิถีชีวิตของกลุ่มชนที่สัมพันธ์อยู่กับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ดังนั้น เศรษฐกิจจึงควรสัมพันธ์และเติบโตขึ้นจากพื้นฐานทางวัฒนธรรม จึงจะมั่นคง และ 7) มีความมั่นคงพอเพียง ไม่ใช่วูบวาบ เดี๋ยวจนเดี๋ยวรวยแบบกะทันหัน เดี๋ยวตกงานไม่มีกินไม่มีใช้ ถ้าเป็นแบบนั้นประสาทมนุษย์คงทนไม่ไหวต่อความผันผวนที่เร็วเกิน จึงสุขภาพจิตเสีย เครียด เพี้ยน รุนแรง ฆ่าตัวตาย ติดยา เศรษฐกิจพอเพียงที่มั่นคงจึงทาให้สุขภาพจิตดี
สรุปได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถทาให้เกิดความพอเพียงหรือพอประมาณกับตนเอง อยู่ได้อย่างพอกินพอใช้ไม่เดือดร้อน เป็นการยึดทางสายกลาง เมื่อทาอะไรก็ตามให้พอเหมาะพอควร มีเหตุมีผล และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง โดยอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน

องค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียง
รงค์ ประพันธ์พงศ์ (2550, หน้า 34) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียง ไว้ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นทางสายกลาง หรือแบบมัชฌิมาปฏิปทาตามหลักพุทธศาสนา คำนิยามเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะที่เป็นห่วงสอดร้อยประสานกันเพื่อนาไปสู่การปฏิบัติได้แก่
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
นอกจากคุณลักษณะ 3 ห่วงดังกล่าวแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การกำหนดเงื่อนไขไว้ 2 ประการ เพื่อการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน นั่นคือเงื่อนไขต่อไปนี้
ก. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนาความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
ข. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต



ความหมายของบัญชีครัวเรือน
บัญชีครัวเรือน (home accounting) เป็นการนาการบัญชีมาประยุกต์เพื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเป็นบัญชีที่ใช้สาหรับบันทึกรายได้และรายจ่าย รายได้และรายจ่ายที่บันทึกอาจเป็นรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล หรือรายได้และรายจ่ายที่เป็นต้นทุนในการผลิตของธุรกิจขนาดย่อม เพื่อที่จะทาให้ผู้ประกอบกิจการทราบถึงผลกาไรหรือขาดทุนจากการประกอบธุรกิจนั้น โดยในเอกสารนี้จะกล่าวถึงการบันทึกบัญชีรายได้และรายจ่ายที่เป็นของส่วนบุคคลหรือครอบครัว ทั้งนี้ข้อมูลรายได้และรายจ่ายที่ได้จากการบันทึกจะถูกวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

 

เนื้อหารายวิชา