เนื้อหา

ความเกี่ยวข้องระหว่างบัญชีครัวเรือนและเศรษฐกิจพอเพียง
เนื่องจากผู้จัดทำบัญชีครัวเรือนจะสามารถทราบถึงรายได้และค่าใช้จ่ายของตนและครอบครัว จึงสามารถวางแผนการใช้จ่ายต่อไปได้อย่างรอบคอบ เกิดความพอประมาณในการใช้จ่าย สามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ทำให้เกิดการประหยัดและการออม และหากมีการใช้จ่ายเท่าที่มีก็จะไม่ก่อให้เกิดหนี้สิน จึงสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างยั่งยืน เป็นผลให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ดีในการรับการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากเกิดการตกงานหรืออุบัติเหตุที่ทำให้ไม่สามารถหารายได้มาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวได้การบันทึกบัญชีครัวเรือน จึงสามารถทำให้ผู้บันทึกเกิดคุณสมบัติ 3 ข้อ คือ
1. ความพอประมาณในการใช้จ่าย
2. มีเหตุมีผลในการตัดสินใจใช้จ่าย ใช้จ่ายอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง
3. ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ดีในการรับการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งเป็นไปตามคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการในองค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียงโดยอยู่ภายใต้ 2 เงื่อนไข คือ
ก. ความรู้ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน การวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่ายที่ได้บันทึกไว้
ข. คุณธรรม คือการดำเนินชีวิตด้วยความขยันอดทน และใช้สติปัญญาในการดาเนินชีวิต ผู้บันทึกบัญชีครัวเรือนสามารถทาให้เกิดความพอเพียงหรือพอประมาณกับตนเอง อยู่ได้อย่างพอกินพอใช้ไม่เดือดร้อน เป็นการยึดทางสายกลาง โดยเมื่อทำอะไรก็ตามให้พอเหมาะพอควรและมีเหตุมีผล ประโยชน์ที่ได้รับจากการบันทึกบัญชีครัวเรือนดังกล่าวข้างต้น ให้ผลสอดคล้องกับความหมาย คุณสมบัติและเงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียง จึงถือได้ว่าบัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ถูกนามาใช้ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 

บัญชีครัวเรือนกับชีวิตประจำวัน
การดำเนินชีวิตประจาวันย่อมมีรายรับและรายจ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น รายรับได้มาจากการทำมาหาเลี้ยงชีพ ทั้งจากอาชีพหลักและอาชีพรอง ส่วนรายจ่ายก็ได้แก่ค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้แก่ ค่าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้มีจานวนเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด และไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง บัญชีครัวเรือนเป็นบัญชีที่สาหรับบันทึกรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจาวันของเราว่าในแต่ละวันเรามีรายได้เข้ามา แล้วจ่ายค่าใช้จ่ายออกไปเท่าไร ปัจจุบันยอดเงินคงเหลือมีเท่าไร ทำให้เกิดการวางแผนการใช้จ่ายต่อไปอย่างรอบคอบ ใช้จ่ายอย่างพอเพียงเท่าที่มีอย่างระมัดระวัง

วัตถุประสงค์ของการบันทึกบัญชีครัวเรือน ก็เพื่อให้ผู้บันทึก
1. สามารถวางแผนการใช้จ่ายต่อไปได้อย่างรอบคอบ ไม่ใช้จ่ายเกินกว่าเงินคงเหลือ เนื่องจากทุกครั้งที่บันทึกบัญชีจะทราบถึงยอดเงินคงเหลือของตน
2. ทราบถึงถึงรายได้และค่าใช้จ่ายของตนและครอบครัว ทั้งรายละเอียดและภาพรวม
3. เมื่อผู้บันทึกทาการวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่ายของตนที่ได้บันทึกไว้แล้ว จะสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จาเป็น ทาให้เกิดการประหยัดและการออม และหากมีการใช้จ่ายเท่าที่มีก็จะไม่ก่อให้เกิดหนี้สิน จึงสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างยั่งยืน

ประโยชน์ของจากการจัดทำบัญชีครัวเรือน
ผลการวิจัยที่ได้สนับสนุนถึงประโยชน์ของจากการจัดทำบัญชีครัวเรือน ดังนี้
การวิจัยของวาริพิณ มงคลสมัย (2551, บทคัดย่อ) เรื่อง “การจัดการความรู้ทางการบัญชีเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในการผลิต ผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งสีทองของกลุ่มเกษตรกรบ้านเหมืองกวัก ต.มะเขือแจ้
อ.เมือง จ.สาพูน” พบว่า ผลการบันทึกบัญชีทำให้ชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และเป็นกาลังใจในการหารายได้เข้าสู่ครอบครัวมากขึ้น
การวิจัยของวาริพิณ มงคลสมัย (2552, บทคัดย่อ) เรื่อง “การจัดการความรู้ทางบัญชีตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง” พบว่าการจัดทำบัญชีครัวเรือน ทำให้ชุมชนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และมีเงินออมมากขึ้น
การวิจัยของชนิตา โชติเสถียรกุล (2551, บทคัดย่อ) เรื่อง “การศึกษาสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนของผู้ปกครองนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่” พบว่า การจัดทำบัญชีครัวเรือนมีประโยชน์สูงสุดในด้านที่ทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และมีเงินออมเพิ่มขึ้น
และจากการวิจัยของศุภโชติก์ แก้วทอง และสมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล (2552, บทคัดย่อ) เรื่อง “การประเมินผลการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในเขตตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา” พบว่า หลังการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้น มีค่าใช้จ่ายลดลง มีหนี้สินลดลง และมีเงินออมเพิ่มขึ้น ผู้จดบันทึกสามารถนาข้อมูลที่จดบันทึกมาบริหารจัดการในการควบคุมพฤติกรรมในการใช้จ่ายของตนได้
 

สรุปได้ว่า เมื่อผู้จัดทำบัญชีครัวเรือนทำการบันทึกบัญชี จะทราบยอดคงเหลือของเงินที่เป็นปัจจุบัน และสามารถวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่ายของตน เป็นผลให้
1. สามารถวางแผนการใช้จ่ายเงินที่ยังคงเหลืออยู่ได้อย่างรอบคอบ ระมัดระวัง และมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะได้ไม่ใช้จ่ายเกินกว่ารายได้
2. สามารถควบคุมพฤติกรรมในการใช้จ่ายของตนได้ ตัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง
3. หาหนทางในการเพิ่มรายได้
4. มีเงินออมเพิ่มขึ้น และ
5. ทำให้หนี้สินลดลง
การทำบัญชีครัวเรือนจะทำให้เราทราบว่าในแต่ละเดือน ครอบครัวมีรายรับ-รายจ่ายอะไรบ้าง คนเราส่วนมากมักจะหลงลืม(ไม่สนใจที่จะจดจำ) เวลาใช้จ่ายเงินออกไปหรือรับเงินเข้ามา  พอเวลาผ่านไป 2-3 วันก็ลืมแล้ว ดังนั้น บัญชีครัวเรือนจะช่วยเตือนความจำให้เรารู้ถึงการใช้จ่ายเงิน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการใช้จ่ายเงินของครอบครัวเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน ให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้
1.    เพื่อจดบันทึกรายการการดำเนินกิจการเรียงลำดับก่อนหลัง
2.    ง่ายต่อการตรวจสอบ
3.    เป็นการควบคุมรักษาทรัพย์สินของกิจการ
4.    ป้องกันความผิดพลาดในการดำเนินกิจการ
5.    สามารถปรับปรุงแก้ไขทัน
6.    ทำให้ทราบฐานะของกิจการ
7.    เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบผลกำไร-ขาดทุนได้ทุกเวลา

เนื้อหารายวิชา