เนื้อหา |
---|
ความสำคัญของหน้าที่ทางด้านการตลาด ( Marketing Function )
วิลเลี่ยม เจ. สแตนตัน (Stanton 1981 :5) ได้กล่าวว่า การตลาดคือ กิจกรรมของระบบธุรกิจทั้งหมด ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อวางแผนการดำเนินงาน กำหนดราคา ส่งเสริมการจำหน่ายและการกระจายสินค้าและบริการในอันที่จะตอบสนองความพอใจแก้ผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคตหน้าที่ทางการตลาดประกอบด้วย
1.การขาย ( Selling ) เป็นหน้าที่โดยตรงของการตลาด คือ การจัดให้มีการถ่ายโอน หรือเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์อันจำเป็นต่อการหมุนเวียนสินค้าและบริการ ทำให้เกิดความคล่องตัวด้านธุรกิจ ที่ดำเนินการอยู่ ซึ่งอาจ จะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายติดต่อโดยตรง หรืออาจจะมีการประสานงานกันทางโทรศัพท์หรือระบบสารสนเทศต่าง ๆ
2.การซื้อ ( Buying ) เป็นกิจกรรมในส่วนของการซื้อ ก็คือการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการ ซื้อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยในการซื้อสินค้านั้นจะต้องศึกษาหาข้อมูลก่อนว่ามีคุณภาพหรือมาตรฐานมากน้อยเพียงใด
3.การขนส่ง ( Transportation ) สินค้าจะไปถึงมือผู้บริโภคหรือลูกค้าที่อยู่ห่างไกล ซึ่งกระจายกันในแต่ละท้องถิ่นได้ แบบใดเหมาะสมกับสินค้าและไปถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและปลอดภัยจะต้องอาศัยการ ขนส่ง โดยจะต้องเลือกวิธีการให้เหมาะสมกับสภาพของสินค้า ผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาและสภาพของท้องถิ่น รวมทั้งความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เช่นสินค้าที่มีน้ำหนักและปริมาณมาก ควรจะเลือกการขนส่งโดยทางรถยนต์
4.การจัดมาตรฐาน การจัดลำดับชั้นของสินค้า (Standardizing and Grade) เป็นการจัดหรือคัดสินค้าไว้เป็นกลุ่ม เป็นพวก เพื่อสะดวกในการซื้อขาย หรือคัดเลือกเพื่อการผลิต โดยอาจใช้เกณฑ์ขนาดคุณภาพ กำหนดราคาซื้อขายได้เหมาะสมตามระดับของสินค้า ผู้บริโภคเลือกซื้อได้ตามที่ตนเองต้องการ สะดวกในการตกลงซื้อขาย
5.การเก็บรักษาสินค้า ( Storing ) เป็นกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการให้แก่ลูกค้า ด้วยการเก็บรักษาสินค้าไว้ เพื่อให้สินค้ามีคุณค่า คุณภาพดีสม่ำเสมอ หรือรอโอกาสที่เหมาะสมในการจำหน่ายให้แก่ลูกค้า ซึ่งการเก็บรักษาสินค้าของตลาดนั้น เพื่อป้องกันสินค้าขาดตลาด คาดหวังผลกำไร และสินค้ามีคุณภาพดีไม่เสื่อมสภาพหรือสูญหาย
6.การประกันภัย ( Insurance ) การดำเนินธุรกิจย่อมต้องมีการเสี่ยงภัยเกิดขึ้น และภัยนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สิน และภัยจากการดำเนินงาน เช่น ไฟไหม้กิจการหรือสินค้าที่กำลังขนส่ง น้ำท่วม สินค้าชำรุด เสียหาย หรือหนี้สูญ เป็นต้น ภัยดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่ ผู้ประกอบการ จึงต้องมีการหาทางลดความเสี่ยงภัย หรือชดเชยความเสียหายอันเกิดจากภัยนั้น โดยการประกันภัยสินค้าไว้กับบริษัทผู้รับประกันภัย
7.การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ( Financial Helping ) เป็นกิจกรรมที่สนับสนุน ทำให้การดำเนินงานมีความคล่องตัว สะดวกขึ้น ตลอดจนถูกใช้เป็นเงื่อนไขต่างๆ ที่ผู้ซื้อ ผู้ขายจะต้องปฏิบัติต่อกัน เช่น การให้เครดิต การผ่อนชาระ เป็นต้น
8.การหาข้อมูลทางการตลาด ( Market Imformation ) การดำเนินงานทางการตลาด คือ การตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง ซึ่งธุรกิจจะสำเร็จได้ก็ต้องมีข้อมูลอย่างเพียงพอในการตัดสินใจด้านธุรกิจ เช่น ข้อมูลความต้องการของผู้บริโภค รสนิยม ความทันสมัยของเทคโนโลยี เป็นต้น หรือข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค คู่แข่งขัน ภาวะเศรษฐกิจ นโยบายของรัฐบาล เทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ผู้ประกอบการจะต้องติดตามอยู่เสมอ แล้วนำมาประกอบในการตัดสินใจดำเนินงานด้านการตลาด
.jpg)
ความแตกต่างระหว่างการตลาดและการขาย

