เนื้อหา |
---|
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับคุณภาพการบริการ
ความหมายของบริการพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542) ให้ความหมายของการบริการว่า หมายถึง การปฏิบัติรับใช้ การให้ความสะดวกต่างๆ
กุลธน (2528) ได้ให้ความเห็นในเรื่องหลักการให้บริการที่ดีว่า มีหลักการดังต่อไปนี้
1.การให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการของส่วนใหญ่
2.การให้บริการโดยยึดหลักความสม่ำเสมอ
3.การให้บริการโดยยึดหลักความเสมอภาค
4.การให้บริการโดยยึดหลักประหยัด
5.การให้บริการโดยยึดหลักความสะดวก
Kotler (2000) กล่าวว่า การให้บริการ คือ การกระทำที่หน่วยงานแห่งหนึ่งหรือบุคคล
คนหนึ่งนำเสนอต่อหน่วยงานอีกแห่งหนึ่งหรือบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้และไม่เป็นผลให้เกิดความเป็นเจ้าของในสิ่งใด ผลิตผลของการบริการอาจเกี่ยวข้องหรืออาจ
ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตภัณฑ์เป็นกิจกรรม ผลประโยชน์ หรือความพึงพอใจที่สนองตอบต่อ
ความต้องการแก่ลูกค้า ทางกายภาพ และสามารถสรุปลักษณะงานบริการที่สำคัญได้ 4 ประการ ดังนี้
1.ไม่สามารถจับต้องได้ (intangibility) บริการไม่สามารถจับต้องได้ ดังนั้นกิจการต้องหาหลักประกันที่แสดงถึงคุณภาพและประโยชน์จากบริการ ได้แก่
1.1 สถานที่ (place) ต้องสามารถสร้างความเชื่อมั่น และความสะดวกให้กับผู้ที่มาใช้บริการ
1.2 บุคคล (people) พนักงานบริการต้องแต่งตัวให้เหมาะสม บุคลิกดี พูดจาดี เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและเกิดความเชื่อมั่นว่าบริการจะดีด้วย
1.3 เครื่องมือ (equipment) อุปกรณ์เกี่ยวข้องกับการให้บริการ ต้องมีประสิทธิภาพ
ให้บริการรวดเร็วและให้ลูกค้าพอใจ
1.4 วัสดุสื่อสาร (communication material)สื่อโฆษณาและเอกสารการโฆษณา
ต่าง ๆ จะต้องสอดคล้องกับลักษณะของการบริการที่เสนอขายและลักษณะของลูกค้า
1.5 สัญลักษณ์ (symbols) ชื่อ หรือ เครื่องหมายตราสินค้าที่ใช้ในการบริการเพื่อให้ผู้บริโภคเรียกได้ถูกต้อง และสื่อความหมายได้
1.6 ราคา (price) การกำหนดราคา ควรเหมาะสมกับระดับการให้บริการที่ชัดเจนและง่ายต่อการจำแนกระดับบริการที่แตกต่าง
2. ไม่สามารถแบ่งแยกการให้บริการ (inseparability) การให้บริการเป็นทั้งการผลิต และการบริโภค ในขณะเดียวกัน ผู้ขายแต่ละรายจะมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่สามารถให้คนอื่นให้บริการแทนได้ เพราะต้องผลิตและบริโภคในเวลาเดียวกัน ทำให้การขายบริการอยู่ในวงจำกัดในเรื่องของเวลา
3.ไม่แน่นอน (variability) ลักษณะของการบริการไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ขายบริการจะเป็นใคร จะให้บริการเมื่อใด ที่ไหน อย่างไร
4.ไม่สามารถเก็บไว้ได้ (perishability) บริการไม่สามารถเก็บไว้ได้เหมือนสินค้าอื่นๆ

วิวัฒนาการของการขาย
.jpg)
วิวัฒนาการขายของไทย
สมัยสุโขทัย
“ เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ”
แสดงถึงความมีเสรีภาพในการขายในสมัยของพ่อขุนรามคำแหง มีตลาดที่เรียกว่า ตลาดปสาน หรือ บาร์ซาร์ ( Bazaar ) หรือตลาดนัด เป็นย่านชุมชนที่เป็นห้องแถว หรือร้านเป็นแถว ๆ ให้ประชาชนมาติดต่อซื้อขายกัน ในสมัยนี้ ไทยสามารถผลิตชามสังคโลกเป็นสินค้าได้แล้ว มีการค้ากับชาวต่างประเทศ คือ มอญ จีน ลังกา ญี่ปุ่น
สมัยอยุธยา
เจริญสูงสุดในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระคลังสินค้า คือพระยาวิชาเยนทร์(นายฟอลคอน ชาวอังกฤษ) ทำหน้าที่เหมือนรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง
มีการค้ากับโปรตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ
สมัยธนบุรี
มีเรือสำเภาจีนเข้ามาค้าขาย และค้าขายกับ อินเดีย อังกฤษ มลายู
สมัยรัตนโกสินทร์
เริ่มมีการค้ากับสหรัฐอเมริกาในสมัย รัชกาลที่ 2 ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ไทยค้าขายกับจีนมากที่สุด และติดต่อกับหมอบรัดเลย์ ซึ่งได้นำเครื่องพิมพ์ดีดมาใช้ในไทย ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 ยกเลิกระบบการค้าแบบผูกขาดหันมาค้าขายแบบเสรี ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวต่างประเทศได้มาเปิดห้างขายสินค้าในไทย และมีการจัดตั้งกระทรวงพาณิชย์ขึ้นในรัชกาลที่ 6
ปัจจุบัน
ระบบการค้าของไทยเป็นแบบผสม ระหว่างระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม (ประชาชนมีเสรีในการทำธุรกิจ ) ผสมกับสังคมนิยม (รัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการทำธุรกิจธนาคาร การขนส่ง และสาธารณูปโภค)
การบริหารองค์กรทางธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในยุคการค้าเสรี (Free Trade) ซึ่งการค้าและการลงทุนมีความเสรีและเปิดกว้างทางการตลาดมากขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก ภายใต้กรอบที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) หรือในยุคเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่เกิดจากกระแสโลกาภิวัฒน์ รวมถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่าย Internet ซึ่งได้เพิ่มประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสารให้มีความสะดวกรวดเร็วขึ้น และพัฒนาเป็นระบบการค้าบนเครือข่าย Internet หรือธุรกิจ E-Commerce ซึ่งปัจจุบัน ถือเป็นช่องทางการตลาดที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลค่าการค้าสูงนับเป็นแสนล้านบาทต่อปี ทั้งที่เริ่มแพร่หลายภายในเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมาเท่านั้น

การค้าขายของทุกประเทศได้ดำเนินไปอย่างก้าวหน้า เริ่มจากครอบครัว ไปยังชุมชนเล็ก ๆ เชื่อมโยงไปยังชุมชนอื่น ๆ และขยายไปถึงการค้าระหว่างประเทศ ปัจจัยที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อความเจริญก้าวหน้าทางการค้าขาย ได้แก่ ความสงบสุขของบ้านเมือง นโยบายของรัฐบาล สภาวะเศรษฐกิจของโลก ลักษณะนิสัยของประชาชน ความร่วมมือทางด้านการค้า ความเจริญก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี ซึ่งประเทศต่าง ๆ พยายามหาทางทำให้ประเทศของตนเป็นผู้นำทางด้านการค้า เพราะการค้าขายที่ดีมีความเจริญก้าวหน้า หมายถึง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ความมั่งคั่งและการดำเนินชีวิตที่ดีของประชาชนในประเทศนั้น
ประโยชน์ของการขาย
ทางด้านเศรษฐกิจ
1. การขายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างงานอาชีพใหม่ ๆ เช่น พนักงานส่งของ พนักงานบัญชี พนักงานคุมสต็อกสินค้า เป็นต้น
2. การขายทำให้ ท้องถิ่นมีงานทำ มีการกระจายรายได้
3. การขายทำให้ กิจการก้าวหน้า มีการขยายกำลังการผลิต มีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น
ทางด้านสังคม
1. การขายทำให้ประชาชนมีสินค้าตามต้องการ เกิดความสะดวกสบาย และประหยัดค่าใช้จ่ายในการแสวงหา
2. เมื่อประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้ทำให้มีการยกมาตรฐานการครองชีพ เกิดความสงบในสังคม
3. การขายนำความเจริญไปสู่ท้องถิ่น ได้พบความแปลกใหม่ และการเรียนรู้

SME ของไทยไปขายต่างประเทศทำให้เป็นที่รู้จัก และนำเงินตราเข้าประเทศ