กระดานสนทนา

กรุณา Login ก่อนการโพสต์ทุกครั้งค่ะ


ตะลุยสุดขอบจินตนาการผ่านโลกเสมือนจริง

 

ณพวัฒน์มุกตพันธุ์ นิสิตปี2 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังส่งตัวเองเข้าสู่สถานีอวกาศส่วนตัว เตรียมพร้อมที่จะเดินทางกลับโลก ภาพข้างหน้าเป็นลานจอดยานอวกาศขนาดกว้างประมาณสนามบาสเกตบอล รองรับยานอวกาศได้ครั้งละ 2 ลำ ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง
 
 เปล่าหรอกเขาไม่ได้กำลังแสดงภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์เรื่องใหม่ แต่เขากำลังขับยานอวกาศเสมือนจริงที่ใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนออกแบบและสร้าง "สถานีอวกาศเสมือน" ที่ปรากฏตัวซ้อนมิติอยู่ในอุทยานการเรียนรู้ หรือทีเค พาร์ค ในโซนของมุมกิจกรรมเสริมสร้างเรียนรู้
 
 สถานีอวกาศเสมือนของณพวัฒน์แบ่งเป็นพื้นที่ต่างๆ นอกจากลานจอดยานแล้ว ยังมีห้องชมแสงอาทิตย์ ที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังวิทยาศาสตร์เรื่อง ซันไชน์ เพื่อให้ผู้มาเยือนสามารถชมและศึกษาดาวฤกษ์ในห้วงอวกาศจำลอง ห้องชมดาวที่จำลองระบบดวงดาวไว้ทั้งหมด โรงภาพยนตร์ที่มีฉากหลังเป็นภาพท้องฟ้า ให้ความรู้สึกเหมือนนั่งอยู่ในอวกาศจริงมากที่สุด หรือหากไม่ชอบดูหนังแต่ชอบอ่านหนังสือ สถานีแห่งนี้ยังมีห้องสมุดไว้รองรับอีกด้วย
 
 สิ่งอำนวยความสะดวกบนสถานีอวกาศเสมือนยังรวมถึงมุมร้านกาแฟ ห้องแสดงงานศิลปะ และห้องย่อยอื่นๆ อีกมากมายสำหรับการศึกษาและค้นคว้าวิจัย เรียกได้ว่าอะไรที่พบในทีเค พาร์ค สามารถพบได้ที่สถานีอวกาศเสมือนนี้
 
  โครงการก่อสร้าง "สถานีอวกาศเสมือน" เป็นกิจกรรมในสนามแข่งพัฒนาโลกเสมือน (วันเดอร์แลนด์ ชาลเลนจ์ 2009) โดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือเป็นการแข่งขันสร้างโลกเสมือนจริงครั้งแรกในไทย มีทีมนักศึกษาลงสนามแข่งกว่า 30 ทีม
 
 อาจารย์นนทวัฒน์จันทร์เจริญ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญของวงการไอทีไทยในการริเริ่มใช้ "โปรเจกท์วันเดอร์แลนด์" ซึ่งเป็นโปรแกรมทูลแบบโอเพ่นซอร์ส ใช้สร้างโลกเสมือนจริงออนไลน์ กิจกรรมนี้จึงเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ระดับโลก
 
 "จุดเด่นของโปรเจกท์วันเดอร์แลนด์อยู่ที่ความสะดวก รวดเร็วในการสร้างโลกเสมือนจริงสามมิติ นำไปสู่การประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ทั้งการเรียนการสอนออนไลน์ พิพิธภัณฑ์ออนไลน์ หรือตึกโครงสร้างอาคาร โบราณสถานต่างๆ ที่ยูสเซอร์สามารถเดินเข้าไปได้ หรือเงยหน้าขึ้นมองเห็นยอดเจดีย์สูงใหญ่ได้ อีกทั้งความเป็นโอเพ่นซอร์สรวมทั้งสร้างได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ต้นทุนผลิตโลกเสมือนจริงต่ำลงมามากกว่าที่เคยเป็น อาจารย์นนทวัฒน์กล่าว
 
 โปรเจกท์วันเดอร์แลนด์พัฒนาด้วยโปรแกรมจาวา100% จึงใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทั่ว ไปทุกคนที่อยู่คนละสถานที่สามารถเข้ามามีกิจกรรมร่วมกันในแบบออนไลน์ได้ สามารถแลกเปลี่ยนแอพพลิเคชั่น ข้อมูล ภาพและเสียงได้สมบูรณ์เหมือนเป็นประสบการณ์การพบปะกันจริงๆ ยกตัวอย่าง มหาวิทยาลัยบางแห่งในต่างประเทศ ใช้วันเดอร์แลนด์สร้างโลกแห่งการเรียนรู้ทางไกลแบบมีส่วนร่วมเสมือนจริง โดยชั้นเรียนจริงในมหาวิทยาลัยเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ทั่วโลก แลกเปลี่ยนข้อมูลและทำกิจกรรม ตลอดจัดอบรมสัมมนาผ่านเน็ตเวิร์ก
 
 เกรียงไกรตรัยไชยาพร ผู้ร่วมสร้างสถานีอวกาศเสมือนเสริมว่า การพัฒนาสถานีอวกาศเสมือน จำเป็นต้องวางแผนการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นที่ออกแบบ เน้นให้เห็นเลยว่าเป็นอะไร ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน รวมถึงลดการใช้พื้นที่คอมพิวเตอร์ เช่น ลานจอดยานบินที่กะทัดรัดรองรับได้ 2 ลำ ก็ประหยัดพื้นที่คอมพ์ได้มากกว่าลานจอดขนาดใหญ่
 
 ทั้งนี้สถานีอวกาศเสมือนครองรางวัลชนะเลิศวันเดอร์แลนด์ชาลเลนจ์ 2009 ถัดมาคือ อารยธรรมตะวันตกเสมือน รวบรวมประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยกรีกจนถึงปัจจุบัน ผลงานนิสิตจุฬาฯ และ โลกจำลองที่ให้ความสำคัญกับการใช้งานจริงของวันเดอร์แลนด์ผลงานร่วมนิสิต จุฬาฯกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง และรองชนะเลิศอันดับสอง ตามลำดับ
 
 กานต์ดา บุญเถื่อน
 ที่มา : http://www.komchadluek.net
เจ้าของกระทู้ by   webmaster | view 2,206 | comment 0 | แจ้งลบ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
รายละเอียด  :
รูปภาพ  :
(ไม่เกิน 1024 kb , jpg , gif)
ชื่อผู้เขียน  :
Security Code:
8376
 

กติกา มารยาท
  • กรุณาใช้คำสุภาพ และงดเว้นการตั้งกระทู้และแสดงความคิดเห็นด้วยเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล ทรัพย์สินทางปัญญา การโฆษณาและข้อความที่อยู่ในรูปแบบของการชักชวน
  • หากพบข้อความไม่เหมาะสม และข้อความที่ตั้งขึ้นซ้ำซ้อน ทางเว็บไซต์ Praveetelearning.com ขอลบข้อความดังกล่าว โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • สมาชิกท่านใดพบข้อความไม่เหมาะสมหรือการละเมิดฝ่าฝืนใดๆ โปรดแจ้งได้ที่ webmaster@praveetelearning.com